ที่มา http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?Newsid=102183&NewsType=1&Template=1
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 1
เรื่อง ให้ข้าราชการมารายงานตัว
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 1 เรื่อง ให้ข้าราชการมารายงานตัว ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จึงให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง อธิบดีทุกกรม หัวหน้าหน่วยงานระดับกรม หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมตลอดทั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัย ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง ไปรายงานตัวต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ในวันที่ 20 กันยายน 2549 เวลา 09.00 น. สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน 2549 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 2
เรื่องให้วันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นวันหยุดราชการ
เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด หน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงสั่งให้วันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นวันหยุดราชการ และวันหยุดธนาคาร โดยให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หยุดทำการในวันดังกล่าวด้วย
สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ฉบับที่ 3
เรื่อง มอบอำนาจการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่กองทัพภาค
เพื่อให้การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่กองทัพภาคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งให้แม่ทัพภาค 1 แม่ทัพภาค 2 แม่ทัพภาค 3 และแม่ทัพภาค 4 เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่แต่ละกองทัพภาค มีอำนาจในการระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยเขตพื้นที่แต่ละกองทัพภาค โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนปฏิบัติตามการสั่งการของแม่ทัพภาค ผู้ใดหลีกเลี่ยง ขัดขืนจะต้องได้รับโทษอย่างร้ายแรง
และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัย รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแต่ละเขตพื้นที่กองทัพภาค ไปรายงานตัวต่อแม่ทัพภาค ณ กองบัญชาการแต่ละกองทัพภาค ในวันที่ 20 ก.ย.2549 เวลา 09.00 น. ทั้งนี้ ยกเว้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ให้ไปรายงานต่อหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ณ กองบัญชาการกองทัพบกตามที่ได้สั่งการไปแล้ว
สั่ง ณ วันที่ 20 ก.ย. 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
คำสั่งคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 4/2549
เรื่องเชิญคณะทูตานุทูตมารับฟังคำชี้แจง
ตามที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้ว เพื่อเป็นการทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ภายในประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแกรัฐบาลของนานาประเทศ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงให้กระทรวงการต่างประเทศ ประสานและเชิญคณะผู้แทนทางการทูตของสถานเอกอัครราชทูต สถานอัครราชทูต สถานกงสุล และสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารของต่างประเทศ ประจำประเทศไทย เข้ารับฟังคำชี้แจงจากคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เวลา 13.30 น. ณ หอประชุมกิตติขจร ภายในกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก และจัดล่ามภาษาไทย-อังกฤษ แปลในระหว่างการชี้แจงด้วย พร้อมกันนี้ขอให้ส่งรายชื่อคณะผู้แทนทางการทูตที่จะเข้ารับฟังคำชี้แจงดังกล่าวให้แก่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายในเวลา 11.00 น.
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 5/2549
เรื่อง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจปกครองแล้วนั้น จึงให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการควบคุมยับยั้งสกัดกั้น และทำลายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศ ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารทั้งหมด ที่มีบทความ ข้อความ คำพูดอื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฎิรูป การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศในเบื้องต้นแล้ว
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อพลเอกสนธิ บุญรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 6/2549
เรื่อง ตรวจสอบท่าทีของผู้นำนานาประเทศ
ตามที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้วนั้น เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ถูกต้อง และเกิดประโยชน์ต่อการตกลงใจในการดำเนินการด้านความสัมพันธ์ระห่างประเทศ จึงให้กระทรวงการต่างประเทศ แจ้งเอกอัครราชทูตที่ประจำ ณ ต่างประเทศทุกแห่ง ให้ดำเนินการตรวจสอบท่าทีของผู้นำนานาประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งการเสนอข่าวของสื่อมวลชนในต่างประเทศ ต่อกรณีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย และรายงานให้กองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทราบโดยทันที และต่อเนื่อง
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 7/2549
เรื่องการจัดส่วนงานและการแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อให้การบริหารงานของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ จึงให้ดำเนินการจัดส่วนงานหน้าที่และการแบ่งมอบการรับผิดชอบดังนี้ 1. การจัดส่วนงานกองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย 4 ส่วนงานคือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สำนักเลขาธิการ คณะที่ปรึกษากิจการพิเศษ 2.การแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีหน้าที่ดังนี้ 1. บริหาราชการแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนและให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกำหนด 2. อำนวยการควบคุมกำกับดูแลบริหารงานของกระทรวง ทบวง กรม ความรับผิดชอบให้สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด สำนักเลขาธิการ มีเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดรับผิดชอบงานธุรการและกลั่นกรองบรรดาแถลงการณ์ คำสั่ง หรือประกาศ หรือเอกสารอื่นใดที่ประกาศให้ทราบทั่วไป ก่อนนำเสนอหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะที่ปรึกษามีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในนโยบายความมั่นคงด้านต่างๆ ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ร้องขอหรือที่ริเริ่มขึ้นเอง ฝ่ายกิจการพิเศษมีเลขาธิการฝ่ายกิจการพิเศษเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีหน้าที่อำนวยการ ประสานงานให้เป็นไปตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขขอปฏิเสธข่าวลือการประกาศห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานในเวลากลางคืน หรือการประกาศเคอร์ฟิว ว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดและขอให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามปกติ จึงขอประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
คณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 9/2549
เรื่อง ให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัว
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ของคณะปฏิรูปฯ จึงให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัวต่อคณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ในวันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 12.00น.
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 11/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการมาปฎิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 11(4) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 เรื่องอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน จึงมีคำสั่งให้
1.พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ นักบริหาร 11
2.พล.ต.ต.พีระพันธ์ เปรมภูติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นักบริหาร 11
3.พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
4.พล.ต.ท.ชลอ ชูวงษ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีโดยให้ได้รับเงินเดือนตามสังกัดเดิมไปพลางก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ขณะเดียวกันให้พลโทไวพจน์ ศรีนวล ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม ไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และให้รับเงินเดือนจากต้นสังกัดเดิมไปพลางก่อน
สั่ง ณ วันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 12/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการมาปฎิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 11(4) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 เรื่องอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน
จึงมีคำสั่งให้ พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และให้รับเงินเดือนตามสังกัดเดิมไปพลางก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 13/2549
เรื่องให้ข้าราชการรักษาราชการแทน
ด้วยได้มีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ 11/2549 เรื่องให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยสั่งให้พลตำรวจตรีพีรพันธุ์ เปรมภูติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นักบริหาร 11 มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2549 เป็นต้นไป เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 เรื่องอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน จึงมีคำสั่งให้นายรองพล เจริญพันธุ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี นักบริหาร 11 รักษาราชการแทนปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอีกหน้าที่หนึ่ง ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 23 กันยายน 2549
พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 15/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานสำหรับการรณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
เพื่อให้การดำเนินการรณรงค์ให้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ผู้สมัครในนามประเทศไทย และอาเซียน ในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ มีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสำเร็จ จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะทำงาน สำหรับการณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ
1.1 รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ประธานคณะทำงาน
1.2 เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทย ประจำสหประชาชาติ คณะทำงาน
1.3 อธิบดี กรมองค์การระหว่างประเทศ คณะทำงาน
1.4 รองอธิบดี กรมองค์การระหว่างประเทศ นางบุศยา มาทแล็ง คณะทำงาน
1.5 รองอธิบดี กรมสารนิเทศ นายพิริยะ เข็มพล คณะทำงาน
1.6 นายเสข วรรณเมธี เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน
1.7 นายภควัต ตันสกุล เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน
1.8 ผู้อำนวยการกองงานบริหารองค์การระหว่างประเทศ คณะทำงาน และเลขานุการ
1.9 นายธีรวัฒน์ ภูมิจิตร เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.10 นายจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.11 นายสุริยา จินดาวงศ์ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.12 นายโวสิต วรทรัพย์ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.13 นางศรีพันธ์ จันทรัคคะ เจ้าหน้าที่ธุรการ 5 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
2.1 พิจารณากำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินการ แผนการณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ รวมทั้งท่าทีของไทยในการรณรงค์
2.2 พิจารณากำหนดแผนงานด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการณรงค์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
2.3 พิจารณาเสนองบประมาณเพื่อการณรงค์และการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
2.4 ดำเนินการรณรงค์โดยประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มงาน เพื่อสนับสนุนคณะทำงาน เพื่อการณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ของกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
2.5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจในการพิจารณาเห็นชอบแผนการเดินทางของผู้สมัคร และคณะ สำหรับการรณรงค์หาเสียง
2.6 แต่งตั้งบุคคล หรือคณะทำงานเฉพาะกิจ สำหรับการรณรงค์หาเสียง
2.7 มีสำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ พลขับ และอุปกรณ์การสื่อสาร อันสมควรตามความจำเป็นแก่การณรงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานการจัดหา
2.8 ปฏิบัติการอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ให้ดำเนินการใช้งบประมาณตามความเหมาะสมจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 -2550 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น ให้เบิกจ่ายที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการ ให้หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 25 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อ
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 16/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. มีคำสั่งที่ 16/2549 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อให้การเปิดใช้ ในวันที่ 28 ก.ย.นี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานกรรมการ
2. พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชการทหารสูงสุด เป็นรองประธานกรรมการ
3. พล.ต.อ.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ
4. นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เป็นกรรมการ
5. ร.อ.ท.อภินันท์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการ
6. นายกอบชัย ศรีวิลาศ เป็นกรรมการ
7. นายสมชัย สวัสดิผล เป็นกรรมการ
8. นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ และเลขานุการ
9. เจ้าหน้าที่ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
10. เจ้าหน้าที่ที่เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
1. กำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2549 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. ประสานและติดตามการดำเนินการของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือคำสั่งอื่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงาน อื่นของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3. รับและพิจารณาข้อเสนอแนะจากสายการบิน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4. สั่งการและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
5. เสนอแนะการกราบบังคมทูลพระกรุณาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการ
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือบุคคล และมอบหมายให้ดำเนินการเรื่องใดๆ แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
7. ดำเนินการอื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ให้คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือคำสั่งอื่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามการสั่งการ การประสาน และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการโดยเร็ว ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 25 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 17/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 17/2549 เรื่องแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา โดยที่ได้มีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 7/2549 เรื่องการจัดส่วนงานและการแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารงานของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน จึงแต่งตั้งบุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้ ประกอบกันเป็นคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งดังกล่าว ดังต่อไปนี้
คณะที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ
1.ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นประธานที่ปรึกษา 2.นายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นที่ปรึกษา3.นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นที่ปรึกษา 4.นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เป็นที่ปรึกษา5.คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เป็นที่ปรึกษา 6.นายไชย ไชยวรรณ เป็นที่ปรึกษา 7.นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นที่ปรึกษา 8.ศ.เทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา9.ศ.ปราณี ทินกร เป็นที่ปรึกษา 10.นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา 11.ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา 12.ศ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เป็นที่ปรึกษา 13.รศ.วรพล โสคติยานุรักษ์ เป็นที่ปรึกษา14.นายวิรไท สันติประภพ เป็นที่ปรึกษา 15. นายสันติ วิลาสศักดานนท์ เป็นที่ปรึกษา 16.นายศิวะพร ทรรทรานนท์ เป็นที่ปรึกษา 17.นายอาชว์ เตาลานนท์ เป็นที่ปรึกษา 18.ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา 19. น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช เป็นที่ปรึกษา
คณะที่ปรึกษาฝ่ายการต่างประเทศ
1.นายวิทยา เวชชาชีวะ เป็นประธานที่ปรึกษา2.นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เป็นที่ปรึกษา 3.นายกำธร อุดมฤทธิรุจน์ เป็นที่ปรึกษา 4.นายเตช บุนนาค เป็นที่ปรึกษา 5.นายนิตย์ พิบูลสงคราม เป็นที่ปรึกษา 6.นายพิศาล มาณวพัฒน์ เป็นที่ปรึกษา 7.นายวิทย์ รายนานนท์ เป็นที่ปรึกษา 8.นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช เป็นที่ปรึกษา
คณะที่ปรึกษาด้านการเสริมสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
1.รศ.จุรี วิจิตรวาทการ เป็นประธานที่ปรึกษา 2.รศ.กำชัย จงจักรพันธุ์ เป็นที่ปรึกษา 3.รศ.จรัล เล็งวิทยา เป็นที่ปรึกษา 4.นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ เป็นที่ปรึกษา 5.รศ.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เป็นที่ปรึกษา 6.ผศ.ธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย เป็นที่ปรึกษา 7.รศ.บุญสม ศิริบำรุงสุข เป็นที่ปรึกษา 8.รศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา 9.รศ.พงษศักดิ์ อังกะสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษา 10.รศ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา 11.รศ.ลาวัลย์ หอนพรัตน์ เป็นที่ปรึกษา 12.ศ.วันชัย ศิริชนะ เป็นที่ปรึกษา 13.ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นที่ปรึกษา
คณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม
1.นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานที่ปรึกษา 2.นายโคทม อารียา เป็นที่ปรึกษา 3.รศ.จรัส สุวรรณมาลา เป็นที่ปรึกษา 4.นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นที่ปรึกษา 5.นางเตือนใจ ดีเทศน์ เป็นที่ปรึกษา 6.ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล เป็นที่ปรึกษา 7.รศ.ธีรภัทร เสรีรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา 8.รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นที่ปรึกษา 9.รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นที่ปรึกษา 10.ศ.พรชัย มาตังคสมบัติ เป็นที่ปรึกษา 11.นายพิภพ ธงไชย เป็นที่ปรึกษา 12.ภราดาประทีป โกมลมาศ เป็นที่ปรึกษา 13.นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เป็นที่ปรึกษา 14.นายประยงค์ รณรงค์ เป็นที่ปรึกษา 15.นายวรวิทย์ บารู เป็นที่ปรึกษา 16.นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เป็นที่ปรึกษา 17.รศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นที่ปรึกษา 18.ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นที่ปรึกษา 19.ศ.วันชัย วัฒนศัพท์ เป็นที่ปรึกษา 20.รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม เป็นที่ปรึกษา 21.ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา 22.รศ.สุริชัย หวันแก้ว เป็นที่ปรึกษา 23.ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นที่ปรึกษา 24.คุณหญิงแสงดาว สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา 25.นายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นที่ปรึกษา 26.รศ.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ เป็นที่ปรึกษา
ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอคำแนะนำแก่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขร้องขอ หรือตามที่คณะที่ปรึกษาเห็นสมควร
ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ ประชุมพิจารณาเรื่องทั้งหลายแยกกัน แต่อาจจัดให้มีการประชุมร่วมกันของคณะที่ปรึกษาทุกคณะหรือบางคณะได้ตามที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ เห็นสมควร
ให้คณะที่ปรึกษาแต่งตั้งที่ปรึกษาคนหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่เลขานุการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้ ให้สำนักเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนวยความสะดวกในการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งนี้
สั่ง ณ วันที่ 26 กันยายน 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ 19/2549
เรื่องแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขคำสั่ง นายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงให้ยกเลิกความในข้อ 5 (1) และ (23) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2548 เรื่องการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและคณะที่ปรึกษาลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประธานกรรมการ
(23) เสนาธิการทหารบก กรรมการและเลขานุการร่วม"
สั่ง ณ วันที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ 20/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการรักษาราชการแทน
ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายถวิล สมัครรัฐกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 10) ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป
เพื่อให้การปฏิบัติราชการในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นไปด้วยความต่อเนื่อง เมื่อตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 10) ว่างลงในเวลาข้างต้น จึงแต่งตั้งให้ นางจุฬารัตน์ บุณยากร รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 9) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 10)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
สั่ง ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข