ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/2008/10/22/news_27470978.php?news_id=27470978
ศาลจำคุก"ทักษิณ"2ปี-"พจมาน"รอด
ศาลฎีกานักการเมืองพิพากษาคดีประวัติศาสตร์ "ที่ดินรัชดาฯ" สั่งจำคุกอดีตนายกฯ "ทักษิณ
ชินวัตร" 2 ปี กระทำผิดกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 100 ฐานเป็นผู้นำรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามหลัก
ธรรมาภิบาลและจริยธรรมนักการเมือง แต่ให้ยกฟ้องทุจริตต่อหน้าที่ สั่งออกหมายจับมารับโทษ ส่วน "พจมาน" รอดทุกข้อหา แถมไม่ถูกริบที่ดินและเงิน อัยการเดินหน้าส่งหลักฐานขอตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ด้านพันธมิตรเฮ ประกาศชัยชนะ ขณะที่ นปช.ซึม ยืนไว้อาลัย "ทักษิณ" ให้สัมภาษณ์สื่อนอก ระบุรู้อยู่แล้วต้องตัดสินอย่างนี้ ชี้เป็นเรื่องการเมือง เตรียมออกแถลงการณ์แจง น้องเขยอ้างเป็นเรื่องส่วนตัว รัฐบาลไม่เกี่ยวข้อง อุ้มพี่เมียไม่ได้ทุจริต แค่ผิดกฎหมาย ป.ป.ช.
วานนี้ (21 ต.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา พร้อมองค์คณะ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีทุจริตซื้อขายที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษกจำนวน 33 ไร่ มูลค่า 772 ล้านบาทเศษ ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1 และ 2
ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 100 และ 122, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 86, 91, 152 และ 157 ซึ่งท้ายคำฟ้อง อัยการสูงสุดขอศาลมีคำสั่งให้ยึดที่ดินและเงินที่ซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดให้ตกเป็นของแผ่นดินด้วย
ทั้งนี้ ในคำพิพากษานั้น ประเด็นที่จำเลยทั้งสองยกเป็นข้อโต้แย้งเพื่อต่อสู้คดี ศาลเห็นว่าฟังไม่ขึ้นเกือบทุกประเด็น อาทิเช่น ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ถูกยกเลิกไปแล้วโดยประกาศ คปค.ฉบับที่ 30, คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ไม่มีอำนาจการสอบสวนและฟ้องคดี
นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่จำเลยต่อสู้ว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ, นายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจกำกับดูแลหรือสั่งการกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งศาลเห็นว่ากองทุนฟื้นฟูฯมีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐ และนายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลกองทุนฟื้นฟูฯ
ส่วนประเด็นที่ศาลยกขึ้นมาวินิจฉัยความผิดและพิจารณาโทษ ปรากฏว่า ในประเด็นจำเลยที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ) กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มาตรา 100 ศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดจริง โดยศาลลงมติด้วยคะแนน 5:4 ส่วนจำเลยที่ 2 (คุณหญิงพจมาน) ไม่มีความผิดในประเด็นนี้ เพราะในกฎหมายฉบับเดียวกัน มาตรา 122 ระบุไว้ชัดเจนว่าให้ลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐตามมาตรา 100 แต่ไม่รวมถึงคู่สมรสด้วย
"หากพิจารณาตามหลักธรรมาภิบาล คนที่เป็นนายกรัฐมนตรี รวมถึงภรรยาและบุตร ไม่สมควรซื้อทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพราะการขายทรัพย์สินได้ราคามากหรือน้อย ย่อมมีผลต่อสถานะทางการเงินของกองทุนฯซึ่งนายกรัฐมนตรีดูแลรับผิดชอบอยู่ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าเป็นภรรยาของนายกรัฐมนตรีเข้ายื่นประมูลซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ จึงเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมโดยชัดแจ้ง" คำพิพากษาระบุตอนหนึ่ง
ไม่ผิดอาญา ม.157-ศาลสั่งไม่ริบทรัพย์
สำหรับประเด็นการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่นั้น ศาลเห็นว่าโจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานที่หนักแน่นเพียงพอที่จะชี้ความผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิด และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดด้วยเช่นกัน
ส่วนที่โจทก์ฟ้องให้ริบที่ดินและเงินซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทนั้น ศาลเห็นที่ดินไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด และเงินที่ชำระก็ไม่ใช่ทรัพย์สินที่พิพาท จึงไม่ต้องริบทั้งเงินและที่ดิน
"ทักษิณ"เจอคุก2ปี-"พจมาน"รอด
"เมื่อไต่สวนรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรี แต่กลับกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายทั้งที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลซึ่งต้องกระทำตัวให้เป็นแบบอย่างและประพฤติตนดีงามตามจริยธรรมของนักการเมือง จึงไม่สมควรให้รอการลงโทษ พิพากษาให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 100 ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนความผิดฐานอื่นให้ยก และให้ยกเลิกหมายจับจำเลยที่ 2 และออกหมายจับจำเลยที่ 1 มารับโทษต่อไป"
อัยการเดินหน้าขอตัวผู้ร้ายข้ามแดน
ภายหลังทราบคำพิพากษา นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ กล่าวว่า อัยการสูงสุด (อสส.) ได้ตั้งคณะทำงานเตรียมไว้แล้วเพื่อดำเนินการขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมารับโทษในประเทศไทย และจะดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยวันนี้ (22 ต.ค.) จะไปคัดคำพิพากษาเพื่อส่งให้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีต่างประเทศแปลเป็นภาษาอังกฤษ และส่งต่อให้กระทรวงการต่างประเทศ ส่งเรื่องไปยังกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษ เพื่อดำเนินการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป
"คดีนี้มีอายุความ 10 ปี เป็นเรื่องที่อัยการต้องเร่งรัดติดตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา ถึงแม้ว่าจะเป็นถึงอดีตนายกฯ แต่ไม่มีผล การดำเนินการทุกอย่างจะเป็นไปตามหลักฐานและกระบวนการ" นายเศกสรรค์ ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นอุทธรณ์ โดยใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 278 จะกระทบต่อการขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่ นายเศกสรรค์ กล่าวว่า ไม่กระทบ เพราะทั้งสองขั้นตอนสามารถดำเนินการไปพร้อมกันได้
แกนนำพธม.เฮ-ดีใจทักษิณเจอคุก
สำหรับบรรยากาศที่เวทีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ภายในทำเนียบรัฐบาล ปรากฏว่าทันทีที่ทราบคำพิพากษา ผู้ชุมนุมต่างลุกขึ้นโห่ร้องยินดี พร้อมตี "มือตบ" อย่างพร้อมเพรียงกัน ท่ามกลางเสียงเพลงที่เปิดดังกระหึ่ม
ทั้งนี้ แกนนำกลุ่มพันธมิตร อาทิเช่น นายวีระ สมความคิด นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายการุณ ใสงาม ได้พร้อมใจกันขึ้นเวที และร่วมกันชูมือพร้อมนำผู้ชุมนุมตะโกนคำว่า "ติดคุกๆ"
ส่วนท่าทีของกลุ่มต้านพันธมิตร ซึ่งให้การสนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ และไปชุมนุมรอฟังคำพิพากษาที่หน้าศาล ปรากฏว่าทันทีที่ได้ทราบผลคำพิพากษา สมาชิกของกลุ่มหลายคนได้ยืนไว้อาลัยให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ จากนั้นได้แยกย้ายกันกลับ
"ทักษิณ"จ้อสื่อเทศโต้เรื่องการเมือง
มีรายงานว่า นายนพพร วงศ์อนันต์ จากสำนักข่าวรอยเตอร์ โทรศัพท์ทางไกลไปยังกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษช่วงสาย วันเดียวกันนี้ สัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเจ้าตัวระบุว่า ได้คาดการณ์ไว้ก่อนแล้วถึงผลการตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่พิพากษาจำคุกเขาเป็นเวลา 2 ปี ฐานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในคดีจัดซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก
"ยังไม่พูด เดี๋ยวจะมีจดหมายลายมือผมออกไป...ทราบแล้ว หวังมาตั้งนานว่าจะเป็นแบบนี้" พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวกับ "รอยเตอร์" ภายหลังรับทราบผลคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา
อดีตนายกรัฐมนตรีระบุอีกว่า "ไม่ต้องห่วง คดีนี้มันเป็นเรื่องการเมือง คุณก็รู้การเมืองเป็นอย่างไร"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ทำเรื่องขอลี้ภัยทางการเมืองในประเทศอังกฤษแล้วหรือไม่ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "ไม่มี ไม่กลัวอะไรอยู่แล้ว"
เตรียมโต้ผ่านประชาคมโลก
ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพี โดยเชื่อว่าจะมีข้อกล่าวหาตามมาอีก ตนเป็นนักการเมือง หลังจากถูกโค่นล้มโดยรัฐประหาร ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่พวกเขาจะต้องทำทุกทางที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับสิ่งที่เกิดขึ้น และตนจะเปิดเผยข้อบกพร่อง โดยจะแปลคำพิพากษาแจกจ่ายให้สังคมโลกรับรู้
"สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ใช้หลักกฎหมายมาเป็นหลักฐาน แต่เป็นเรื่องการเมือง" พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุ และเชื่อว่าชาวอังกฤษและชาวโลกจะเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ประชาธิปไตย
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวถึงกรณีที่มีคำพิพากษาว่าคุณหญิงพจมาน ไม่ผิดว่า ดีใจแทนภรรยา แต่คุณหญิงพจมานก็ไม่ได้ทำอะไรผิด เพราะไม่ใช่นักการเมือง
"ขอเรียกร้องให้ประเทศที่กำลังแตกแยกมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประชาธิปไตยของไทยกำลังอยู่บนทางแยก ผมขอเรียกร้องให้ทุกคนตระหนักว่าควรจะให้เสรีภาพกับประชาชนไทยเพื่อจะใช้อำนาจประชาธิปไตยของตนเอง และอย่าคิดว่าพวกเขามีการศึกษาน้อย พวกเขาอาจจะยากจน แต่ผมเชื่อว่าคนเหล่านี้มีความเข้าใจในประชาธิปไตยดีกว่าคนที่มีการศึกษามากกว่า"
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเชื่อว่า จะสามารถพักอาศัยในอังกฤษต่อไป แม้ว่าจะมีการออกหมายจับใหม่ เพราะอังกฤษมีความเป็นประชาธิปไตยที่มีวุฒิภาวะ และคงไม่มีทางที่จะถูกส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน เพราะศาลไทยเป็นศาลการเมือง
สมชายชี้ "ทักษิณ" แค่ผิด ก.ม.ป.ป.ช.
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯ และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีศาลฎีกาฯ จำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ในฐานะที่ตนเป็นหัวหน้ารัฐบาลก็คงไม่ดำเนินการอะไร เพราะตนเคยบอกไปแล้วว่าตนมาเป็นผู้บริหารก็ยึดมั่นในหลักกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลจะไปแทรกแซงอะไรได้ เป็นเรื่องส่วนตัวระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับกระบวนการทางศาล
“เท่าที่ผมฟังก็ไม่มีกรณีเรื่องทุจริตคอร์รัปชันอะไร เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ป.ป.ช.เท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้ไปก้าวก่ายแทรกแซงอะไร เป็นคนละเรื่องกัน”
เมื่อถามว่าในฐานะที่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นพี่เขยจะบอกให้กลับมาสู้คดีหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องส่วนตัวระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณที่จะไปดำเนินการกับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งก็ไม่มีการสู้คดีแล้ว เพราะศาลตัดสินไปแล้ว เมื่อถามว่าผลของการตัดสินคดีนี้จะเป็นชนวนทำให้เกิดความรุนแรงระหว่างฝ่ายที่ชอบและไม่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า คิดว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องความรุนแรง และตนก็ไม่สนับสนุนความรุนแรงอยู่แล้ว ขอให้เป็นเรื่องของคนที่ตกเป็นจำเลยกับกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เชื่อว่าคำตัดสินจะไม่มีผลต่อรัฐบาลและพรรคพลังประชาชน เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคแล้ว
เมื่อถามว่าจะชี้แจงผู้นำประเทศต่างๆ อย่างไรในเวทีการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียยุโรปที่ประเทศจีน วันที่ 23-26 ต.ค.นี้ โดยนายสมชาย ย้อนกลับว่าแล้วคิดว่าใครจะถาม เราอย่าเพิ่งไปคิดแทนว่าจะมีใครถาม
บัวแก้วรอคำร้องผู้ร้ายข้ามแดน
ด้านนายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า กระทรวงการต่างประเทศยังไม่ได้รับการประสานจากสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งตามหลักการแล้ว เมื่ออัยการสูงสุดส่งเอกสารคำร้องขอเรื่องการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษ มายังกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ทางกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะส่งเอกสารคำร้องนี้ไปให้เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อประสานไปยังทางการอังกฤษ ทั้งนี้ ตั้งแต่มี พ.ร.บ.ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนฉบับใหม่ ก็ยังไม่เคยมีบุคคลใดถูกดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนตามช่องทางทางการทูต ก็เป็นสิ่งยืนยันว่าคำร้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เป็นความประสงค์ของทางการไทย
พงศ์เทพชี้ขอตัวขึ้นกับอังกฤษ
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา โฆษกส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ถึงการตัดสินออกมาจะเป็นบรรทัดฐานทางวินัยต่อนักการเมืองไทยในอนาคตว่า ยังดูไม่ออกว่าจะเป็นบรรทัดฐานได้อย่างไร เพราะหากดูตามการชี้มูลมาตรา 100 ของ ป.ป.ช. ที่ตีความบังคับใช้แค่กับคน 36 คน คือนายกฯ และรัฐมนตรี หรือหากจะพูดให้ถูกคือกำหนดเพียงคน 2 คนเท่านั้น ตรงนี้ถือว่าเป็นการวางกติกาที่ไม่ได้ครอบคลุมไม่ได้มีประโยชน์อะไรต่อส่วนรวม แต่ต้องครอบคลุมถึงองค์กรอิสระ ผู้พิพากษาด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ทำอะไรขัดกับผลประโยชน์ของส่วนรวมจริงๆ
ขณะที่ นายนพดล ปัทมะ อดีตที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวถึงกระบวนการส่งตัวกลับว่า หากเปรียบเทียบคดีอื่นกับคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จะใช้เวลานาน เหมือนคดีของนายปิ่น จักกะพาก ซึ่งกระบวนการตรวจสอบนั้นนานมาก ซึ่งเชื่อว่าคดีของอดีตนายกฯ ก็จะเป็นอย่างนั้นและยิ่งหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ขอลี้ภัยก็จะยิ่งใช้เวลาตรวจสอบนานเพราะรายละเอียดเยอะ
ชี้ รธน.เปิดช่องยื่นอุทธรณ์ใน 30 วัน
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จุดสำคัญคือรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบ ทั้งนี้การขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณมาดำเนินคดี รัฐบาลต้องแสดงให้เห็นชัดว่ามีการดำเนินการอย่างจริงจัง เพราะที่ผ่านมายังไม่มีการขยับเรื่องนี้ ทำให้เกิดความคลางแคลงใจ
นายเจษฏ์ โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.สยาม กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถอุทธรณ์ตามรัฐธรรมนูญปี 50 ต่อศาลฎีกาได้ใน 30 วัน ถ้าทีมกฎหมายสามารถหาหลักฐานใหม่มาพิสูจน์ยืนยันได้สามารถอุทธรณ์ได้อีกทางหนึ่ง
นักวิชาการหวั่นไม่วางมือปลุกคนสู้
นายไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การตัดสินของศาลส่งผลโดยตรงทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพอย่างหนัก เกิดภาวะชะงักงันทางยุทธศาสตร์ ขณะที่บ้านเมืองตกอยู่ในสภาพที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดจลาจลในบ้านเมือง เพราะหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอมรับผลการตัดสินหรือพยายามดิ้นสู้เพื่อช่วยเหลือคดีของลูกที่ยังเหลือ โดยมีการปลุกระดมผู้สนับสนุนขึ้นมาเพื่อให้เกิดการปะทะกันอย่างหนักที่สุด สถานการณ์อาจจะบานปลายจนถึงขั้นทหารต้องออกมายึดอำนาจรัฐบาล ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็ควรที่จะใช้โอกาสนี้ประกาศยุติการชุมนุมชั่วคราว แล้วติดตามท่าทีของรัฐบาล เพื่อเป็นการลดเงื่อนไขที่ฝ่าย นปช.หรือฝ่ายสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะลุกฮือขึ้นมาสร้างความปั่นป่วน
“หากคุณทักษิณ ไม่ยอมรับคำตัดสินและต้องการต่อสู้ คุณทักษิณก็จะต้องคิดการใหญ่โดยต้องล้มกระดานทั้งหมดในการเมืองไทย เพื่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองครั้งใหญ่ที่สุด และต้องสูญเสียมากที่สุดกว่าการเปลี่ยนแปลงการเมืองทุกครั้งที่ผ่านมาในเมืองไทย” นายไชยันต์ กล่าว
E-MOB of THAILAND
Wednesday, October 22, 2008
Wednesday, May 28, 2008
Jakrapob’s Code : ถอดรหัสลับทรรศนะอันเป็นอันตรายของ จักรภพ เพ็ญแข
ที่มา http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000061329
โดย อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นานนับสัปดาห์ที่ คุณจักรภพ เพ็ญแข ตกเป็นข่าวให้ผู้คนกล่าวถึง ภายหลังจากที่บทแปลปาฐกถาที่คุณจักรภพเคยแสดงไว้ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เมื่อเดือนกันยายน 2550 เผยแพร่สู่สาธารณะ ก็ก่อให้เกิดประเด็นให้ผู้คนกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่า ถ้อยคำและเนื้อหาที่คุณจักรภพแสดงปาฐกถาไว้นั้นเข้าข่าย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์ยังแสดงความเห็นด้วยว่า ทรรศนะของคุณจักรภพ เพ็ญแขที่แสดงไว้ที่ FCCT เป็น “ทรรศนะอันเป็นอันตราย” ผู้เขียนสนใจใคร่รู้ว่าทรรศนะของคุณจักรภพที่กล่าวกันว่าเป็นอันตรายนั้นมีลักษณะอย่างไร จึงได้ลองวิเคราะห์ปาฐกถาของคุณจักรภพอย่างเป็นวิชาการตามแนวทางอักษรศาสตร์ดู
ข้อตกลงเบื้องต้น
เนื่องจากปาฐกถาที่ FCCT บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ตามที่จะยกมานี้ เมื่อต้องยกตัวอย่าง ผู้เขียนจะยกโดยใช้คำแปลภาษาไทยซึ่งผู้เขียนแปลเอง คำแปลที่ใช้ เลือกใช้วิธีแปลแบบเอาความซึ่งมุ่งความเข้าใจในบทพากย์ภาษาไทยมากกว่าจะสนใจเก็บรักษาทุกถ้อยคำตามภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาต้นฉบับ การวิเคราะห์ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า คุณจักรภพเป็นผู้รู้ภาษาอังกฤษระดับดีมากจนสามารถสื่อความคิดที่ซับซ้อน เรียบเรียงออกมาให้เข้าใจง่ายด้วยภาษาง่ายๆ และสามารถโต้ตอบกับผู้ฟังได้คล่องแคล่ว ผู้เขียนไม่สนใจประเมินภาษาอังกฤษของคุณจักรภพว่า เป็นภาษาที่สวยงามหรือไม่ ถูกไวยากรณ์มากน้อยเพียงใด คำที่ใช้ใช้ตามแบบเจ้าของภาษาอย่างรู้จริงหรือไม่ เนื่องจากผู้เขียนต้องการวิเคราะห์ทรรศนะหรือความคิดของคุณจักรภพมากกว่าจะวิเคราะห์ตัวภาษาในฐานะที่เป็น form หรือพาหะของความคิด
โครงสร้างเนื้อหาปาฐกถาที่ FCCT
หัวข้อปาฐกถาของคุณจักรภพที่ FCCT คือ Democracy and Patronage System of Thailand—ประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ของไทย คุณจักรภพแสดงโดยเหลือบดูบทร่างเป็นระยะๆ ปาฐกถานี้มีเนื้อหาเป็นเอกภาพอย่างยิ่ง เนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนที่ 1 ว่าด้วยประวัติและพัฒนาการระบบอุปถัมภ์ของไทยในสมัยสุโขทัยมาจนถึงปัจจุบันอย่างย่อๆ ส่วนนี้คุณจักรภพพยายามวิเคราะห์ให้เห็นรากเหง้าของระบบอุปถัมภ์ของไทยและผลกระทบที่มีต่อวิกฤติการเมืองของไทยในปัจจุบัน
ส่วนที่ 2 เป็นบทสรรเสริญความกล้าหาญ พ.ต.ต. ทักษิณ ชินวัตร ที่กล้าเผชิญหน้ากับระบบอุปถัมภ์อย่างซึ่งๆ หน้า และผลงานบริหารราชการแผ่นดินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มีส่วนอย่างสำคัญในการทำลายระบบอุปถัมภ์ของไทย
และส่วนที่ 3 เป็นคำประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดแจ้งและแรงกล้าของคุณจักรภพว่า คุณจักรภพและพวกจะทำลายระบบอุปถัมภ์ของไทยให้ภินท์พังลงแบบชนิดขุดรากถอนโคน และตั้งใจจะทำให้เกิดขึ้นในช้าไม่นานหลังจากนี้
Patronage System : คำที่มีสถิติใช้สูงสุด
คำที่เป็น key word ในปาฐกถาที่ FCCT ของคุณจักรภพคือ patronage system ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับ key word ของคุณจักรภพดังนี้
1) คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system รวมจำนวน 24 แห่ง (ไม่นับที่เป็นชื่อหัวข้อปาฐกถาและที่ปรากฏในส่วนคำถามคำตอบท้ายปาฐกถา) และใช้คำว่า patronize จำนวน 7 แห่ง
2) โดยทั่วไป patronage มักแปลว่า ความอุปถัมภ์ patronage system แปลว่า ระบบอุปถัมภ์ ส่วน patronize แปลว่า อุปถัมภ์, อุปถัมภ์ค้ำจุน, ช่วยเหลือ, เกื้อกูล
Patronage System : คำความหมาย 2 นัยยะ
คุณจักรภพ ใช้คำว่า patronage หรือ patronage system ในความหมายที่แตกต่างกัน 2 นัยยะ ดังนี้
นัยยะที่ 1 :
patronage system คือ “ระบบที่ยอมรับความแตกต่างของฐานะของคนในสังคมระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย ผู้ใหญ่และผู้น้อยมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลกันและอำนวยประโยชน์แก่กัน”
ตามนัยยะนี้ ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบ win-win ทั้งผู้เกื้อกูลและผู้รับประโยชน์เกื้อกูล ส่วนผู้ที่ไม่ win ด้วย คือ ผู้น้อยคนอื่นที่ไม่ได้รับประโยชน์เกื้อกูลด้วย ดังนั้นระบบอุปถัมภ์จึงไม่ใช่ระบบที่ยืนอยู่บนความคิดเสมอภาค แต่ก็ไม่ถึงกับขัดหรือแย้งกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยในลักษณะที่จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ประการสำคัญตามนัยยะนี้ ระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่อุดมการณ์ทางการเมือง ไม่ใช่ระบอบการปกครอง แต่เป็นระบบความสัมพันธ์ของคนในสังคม และไม่ใช่ระบบที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทย ปัจจุบัน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และหลายชาติของเอเชียก็ยังมีระบบนี้อยู่
คุณจักรภพ ใช้ patronage system ตามนัยยะนี้เพียง 2 แห่ง ทั้ง 2 แห่งใช้เมื่อกล่าวถึงตนและครอบครัวซึ่งเติบโตขึ้นมาในสังคมไทยที่มีระบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดังนี้
I myself grew up in patronage system.—ตัวผมเองเติบโตขึ้นมาภายใต้ระบบอุปถัมภ์
He grew up in patronage system too.—เขา (หมายถึงบิดาของคุณจักรภพ) ก็เติบโตขึ้นมาในระบบอุปถัมภ์เช่นกัน
นัยยะที่ 2 :
patronage system ตามนัยยะที่ 2 เป็นความหมายเฉพาะของคุณจักรภพ ซึ่งผู้เขียนจะวิเคราะห์ในลำดับต่อจากนี้ไปว่ามีความหมายเฉพาะว่าอย่างไร คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system ตามนัยยะนี้มากถึง 21 แห่ง มีแห่งเดียวที่กำกวม ไม่แน่ใจว่าคุณจักรภพใช้คำว่า patronage system ตามนัยยะที่ 1 หรือนัยยะที่ 2
ทำไม patronage system ของคุณจักรภพจึงได้มี 2 นัยยะ ?
ตามปกติคำที่เราใช้สื่อสารกัน แม้ว่ามี form เดียวกัน แต่ผู้ใช้ภาษาอาจใช้ในความหมายแตกต่างกันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่มีความหมายเชิงนามธรรม ความหมายที่แตกต่างกัน อาจเกิดจากสาเหตุที่ผู้ใช้เข้าใจความต่างกัน ตีความต่างกัน หรือผู้ใช้กำหนดความหมายของคำให้แตกต่างกันก็ได้ เช่นคำว่า แม่ชี คนกลุ่มหนึ่งอาจตีความเคร่งครัดตามหลักพุทธศาสนาเถรวาทว่า ไม่ใช่นักบวช เป็นฆราวาส มีฐานะเพียงอุบาสิกาซึ่งถืออุโบสถศีล หรือ ศีล 8 แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งอาจตีความตามความเข้าใจของคนไทยปัจจุบันว่า แม่ชีเป็นนักบวชหญิงในพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทยๆ
ตามความรู้รัฐศาสตร์ที่คุณจักรภพได้ร่ำเรียนมา คุณจักรภพย่อมรู้จัก patronage system ตามนัยยะที่ 1 อย่างดี แต่คุณจักรภพเลือกที่จะกำหนดความหมายใหม่ ซึ่งเป็นความหมายเฉพาะแก่คำว่า patronage system ทำให้คำนี้มีความหมายเฉพาะแตกต่างกับความหมายตามนัยยะที่ 1 หลายประการ ดังนี้
1) เป็นระบบที่ผู้น้อยเป็นฝ่ายพึ่งพิงหรือคอยเฝ้ารับประโยชน์เกื้อกูลแต่ฝ่ายเดียว ในทำนองเดียวกัน ผู้ใหญ่ก็เป็นฝ่ายเกื้อกูลเพียงลำพัง ส่งผลให้ผู้คน ask about dependency before our own capability to do things—ร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
2) เป็นระบบที่ฝ่ายที่คอยเฝ้ารับประโยชน์หรือพึ่งพิงต้องจ่ายค่าตอบแทนความเกื้อกูลด้วย ความจงรักภักดี และเป็นระบบที่คุณจักรภพคิดว่า มีแต่เฉพาะในประเทศไทย จึง makes Thai people different from many peoples around the world…So people had duty to be loyal.— ทำให้คนไทยแตกต่างกับผู้คนอื่นใดในโลก…ดังนั้นประชาชนจึงมีหน้าที่ต้องจงรักภักดี
3) เป็นระบบที่ฝ่ายเกื้อกูลคือพระมหากษัตริย์ ส่วนฝ่ายเฝ้ารับประโยชน์คือสามัญชน
คุณจักรภพเชื่อมโยงความคิดอย่างมีชั้นเชิงโดยเริ่มต้นกล่าวว่า …we have started off as a country in patronage system—เราตั้งต้นด้วยการเป็นประเทศที่อาศัยระบบอุปถัมภ์ แล้วก็กล่าวข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ที่โปรดให้แขวงกระดิ่งร้องทุกข์ไว้หน้าวัง จักรภพมองว่า ประชาชนที่ไปสั่นกระดิ่ง คือผู้เมื่อเดือดร้อนก็ที่ไม่ยอมพึ่งตนเอง แต่กลับไปรับประโยชน์อุปถัมภ์จากพ่อขุนรามคำแหง คุณจักรภพแสดงทรรศนะว่า นี่เป็นเหตุให้ผู้คน …are led into the patronage system—เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบบอุปถัมภ์
นั่นหมายความว่า คุณจักรภพกำหนดความหมาย ผู้ใหญ่กับผู้น้อยให้แคบลงมากว่าความหมายของ patronage system ตามนัยยะที่ 1 คือ ผู้ใหญ่ที่ให้ความอุปถัมภ์คือพระมหากษัตริย์ ส่วนผู้น้อยที่คอยเฝ้าแต่จะรับการอุปถัมภ์โดยไม่พึ่งพาตนเองคือประชาชนทั่วไป
4) เป็นระบบที่ทำให้คนไทยคิดว่า we don’t actually need democracy. We are led into believing that the best form of government is guided democracy, or democracy with His Majesty greatest guidance…which I see as a clash or the clash between democracy and patronage system.— คนไทยเราจึงไม่ได้ปรารถนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เราถูกชักนำให้เชื่อว่า รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดคือ ประชาธิปไตยแบบชี้นำ หรือประชาธิปไตยภายใต้การชี้นำอย่างมากมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
5) เป็นระบบที่ is in direct conflict with democratization—ขัดแย้งโดยตรงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณจักรภพจะใช้คำว่า patronage system เป็นคู่ตรงข้ามกับ democracy หรือ ประชาธิปไตย คุณจักรภพจึงแสดงทรรศนะว่า ระบบอุปถัมภ์กับประชาธิปไตยไม่อาจอยู่ร่วมกันได้
คุณจักรภพวิเคราะห์ว่า Current political crisis in my opinion is the clash between democracy and patronage system directly.— ในทรรศนะของผมวิกฤติทางการเมืองในปัจจุบันเป็นการปะทะกันระหว่างประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์
และแสดงความชื่นชม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรว่า เป็นผู้ทำลายระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
…what he did was to release people from patronage system, but when the most crucial decision comes, even him, made the decision out of patronage system. So the deep root of the patronage system is here…—สิ่งที่ท่านนายกฯ ทักษิณทำเป็นการปลดปล่อยประชาชนออกจากระบบอุปถัมภ์ เมื่อได้ตัดสินใจครั้งสำคัญ ท่านก็ตัดสินใจออกจากระบบอุปถัมภ์ แต่ระบบอุปถัมภ์ได้หยั่งรากลงลึกเสียแล้ว
เมื่อจบปาฐกถาผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้ถามคำถามย้อนคุณจักรภพเกี่ยวกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรกับระบบอุปถัมภ์ว่า
Wasn’t it as much patronage under Taksin Shinawatra? Doesn’t he rely on patronage to bring people on board as well?— ก็มีระบบอุปถัมภ์อย่างมากมายในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มิใช่หรือ ? ทักษิณเองก็อาศัยระบบอุปถัมภ์ดึงประชาชนมาเป็นพวกอย่างมากเหมือนกันมิใช่หรือ ?
คำถามดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ตั้งคำถามเข้าใจคำว่า patronage system ตามนัยยะที่ 1 ซึ่งผู้ให้ความอุปถัมภ์อาจเป็นใครก็ได้ ตามนัยยะนี้ ผู้ถามจึงเข้าใจว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จัดเป็นผู้ใหญ่คนสำคัญที่ให้ความอุปถัมภ์แก่ผู้น้อยคือประชาชน เป็นคนละนัยยะกับของคุณจักรภพ เพราะตามนัยยะของคุณจักรภพ ผู้ใหญ่ในระบบอุปถัมภ์จำกัดว่าเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น
Patronage System = Monarchy ???!!!
คำว่า patronage มาจากต้นศัพท์ภาษาละตินว่า pater แปลว่า “พ่อ” คำว่า pater เป็นคำร่วมเชื้อสายกับคำว่า father ในภาษาอังกฤษ
ทันทีที่คุณจักรภพเริ่มกล่าวถึงต้นพัฒนาการของ patronage system คุณจักรภพก็กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหง คุณจักรภพเลือกใช้คำว่า Great father แทนคำว่า พ่อขุน ดังนี้
In Sukhothai…we were led to know and believe that one of the kings during Sukhothai period, King Ramkhamhaeng, at the time, to be more precisely “Great Brother” –er I’m sorry “Great Father Ramkhamhaeng”— สมัยสุโขทัย…เราถูกชักนำให้เชื่อว่ากษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยสุโขทัยคือพระเจ้ารามคำแหง หรือที่ถูกต้องคือ พี่ขุน อ้อ ขอโทษครับ พ่อขุนรามคำแหง
คำว่า พ่อขุน มีความหมายเหมือนคำว่า king จากคำปาฐกถาของคุณจักรภพ คุณจักรภพก็รู้ดี เมื่อรู้ดีเช่นนั้นทำให้เกิดคำถามว่า
ทำไมคุณจักรภพไม่ใช้คำว่า King Ramkhamhaeng แต่กลับเจตนาใช้ Great father Ramkhamhaeng ?
คำตอบที่เป็นไปได้มี 2 ทาง
คำตอบทางที่ 1 :
คุณจักรภพต้องการแปลให้ตรงกับภาษาไทย พ่อขุนรามคำแหง = Great father Ramkhamhaeng
ถ้าคำตอบเป็นคำตอบนี้ จะทำให้เกิดคำถามตามมาอีกว่า ใช้ Great father Ramkhamhaeng สื่อความคิดดีหรือมีประสิทธิภาพกว่า King Ramkhamhaeng อย่างไร ? คำตอบที่จะให้แก่คำถามหลังนี้ หาไม่พบจากปาฐกถาของคุณจักรภพหรือแม้แต่จากที่อื่นๆ
ถ้าเช่นนั้น ลองพิจารณาคำตอบทางที่ 2
คำตอบทางที่ 2 :
มีความเป็นไปได้สูงมากว่า คุณจักรภพรู้ว่าต้นศัพท์ของ patronage คือ pater ซึ่งเป็นคำร่วมเชื้อสายกับ father คุณจักรภพเลือกใช้คำว่า Great Father Ramkhamhaeng แทน king Ramkhamhaeng เพื่อที่จะบ่งเป็นนัยๆ อย่างชาญฉลาดแก่ผู้ฟังว่า
patronage = Great Father = king
คุณจักรภพสร้างตรรกะดังกล่าวก็เพื่อวัตถุประสงค์ปลายทางคือการกำหนดความหมายเฉพาะแก่คำว่า patronage system ซึ่งเป็น key word ในปาฐกถาว่า ไม่มีนัยยะที่ 1 แต่มีนัยยะที่ 2 คือ “ระบบที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญในสังคม เป็นระบบที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบความอุปถัมภ์ในรูปของความช่วยเหลือเพียงน้อยนิดแก่ประชาชนเพื่อแลกกับความจงรักภักดีและแลกกับการคงดำรงอยู่ในฐานะสูงสุดในทางการปกครอง” ความหมายใหม่นี้เองทำให้คุณจักรภพกล่าวว่า ระบบอุปถัมภ์นั้น is in direct conflict with democratization—ขัดแย้งโดยตรงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้วิเคราะห์ระบบคิดของคุณจักรภพได้ว่า
เมื่อ Patronage = Great Father = King
การอุปถัมภ์ = พ่อขุน = กษัตริย์
ดังนั้น Patronage System = King system = Monarchy
ระบบอุปถัมภ์ = ระบบกษัตริย์ = ระบอบกษัตริยาธิปไตย
เมื่อลองนำคำว่า monarchy ไปแทนที่คำว่า patronage หรือ patronage system ซึ่งใช้ตามนัยยะที่ 2 และใช้จำนวนมากถึง 21 แห่ง ก็พบว่า แทนที่กันได้และเข้ากับเนื้อความได้สนิทเป็นอย่างดี
When we have problem, turn to someone who can help you. So before we know it, we are led into the PATRONAGE SYSTEM because we ask about dependency before our own capability to do things.
When we have problem, turn to someone who can help you. So before we know it, we are led into the MONARCHY because we ask about dependency before our own capability to do things.
ดังนั้น ข้อความข้างต้นแทนที่จะแปลว่า
—ยามใดที่เราเมื่อประสบปัญหา เราก็หันไปพึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งสามารถช่วยเราได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่เราจะทันรู้ตัว เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบบอุปถัมภ์เสียแล้ว เพราะเราร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
ที่ถูกควรแปลว่า
—ยามใดที่เราเมื่อประสบปัญหา เราก็หันไปพึ่งพระองค์ผู้เดียวซึ่งสามารถช่วยเราได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่เราจะทันรู้ตัว เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบอบกษัตริยาธิปไตยเสียแล้ว เพราะเราร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
ที่สำคัญเมื่อแทนที่ patronage system ทำให้เข้าใจกระจ่างกว่าด้วยซ้ำว่า เหตุใดคุณจักรภพจึงแสดงตัวอย่างเฉพาะความอุปถัมภ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบแด่ประชาชน โดยเว้นไม่อภิปรายถึงความอุปถัมภ์ลักษณะอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างขุนนางผู้ใหญ่กับขุนนางผู้น้อย นายกับบ่าว ฯลฯ ในกรณีสังคมเก่า หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน รุ่นพี่กับรุ่นน้อง นักการเมืองกับหัวคะแนน ฯลฯ ในกรณีสังคมปัจจุบัน
“โอกาสที่สูญเสียไป” ในทรรศนะของจักรภพ ?
คุณจักรภพคิดว่า ระบบอุปถัมภ์ หรือให้ตรงกว่านั้น ระบอบกษัตริยาธิปไตย มีกำเนิดและหยั่งรากฝังลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ใน “ระยะเวลาที่ยาวนาน” ของประวัติศาสตร์ระบบอุปถัมภ์หรือระบอบกษัตริยาธิปไตย การครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็เป็นส่วนหนึ่งอยู่ด้วย เวลาที่ยาวนานทำให้ประชาชนแยก perception หรือ การรับรู้ ไม่ออกว่า เป็น ความจริง หรือเป็น ปะรำปะราคติ
And then, here we are in the reign of the current King, King Bhumibhol or Rama IX. We have all of that combined. And because he reigns for so long of a time, 60 some years now, his being in Thailand has been promoted to the state of myth. People don’t know whether or not they’re talking about realities or belief about him. Because he reigns long enough that he could be all of those combined: the traditional King, the scientific King, the developing King, the working monarch, and now so, he can still be the guardian of the new invention to Thailand, democracy.— ขณะนี้เราอยู่ในรัชกาลปัจจุบัน รัชกาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือรัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์รัชกาลนี้มีทุกประการที่ผมได้กล่าวมาแล้วรวมกัน เนื่องจากพระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานกว่า 60 ปีแล้ว ประชาชนจึงยกพระองค์ขึ้นสู่เทวตำนาน โดยมิพักรู้เลยว่า พวกเขากำลังกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่เป็นบุคคลจริงหรือเป็นบุคคลในความเชื่อปะรำปะราคติ ด้วยว่าพระองค์ทรงครองราชย์ยืนนานมาจนทรงสามารถเป็นได้ทุกอย่างรวมกัน ทั้งกษัตริย์ที่สืบคติต่อกันมา กษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ กษัตริย์นักพัฒนา กษัตริย์ผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และทุกวันนี้ ยังได้ทรงดำรงฐานะผู้พิทักษ์สิ่งใหม่ของไทย คือ ประชาธิปไตย
ข้อความตอนท้ายที่ว่า ยังได้ทรงดำรงฐานะผู้พิทักษ์สิ่งใหม่ของไทย คือ ประชาธิปไตย เป็นเรื่องที่คุณจักรภพต้องการให้ผู้ฟังใช้วิจารณญาณตรองอีกครั้งว่าเป็น reality หรือ belief
จากนั้นคุณจักรภพต่อความคิดทันทีว่า
We missed some opportunities in the past like when Predee Panomyong, the civilian leader of the revolution of 1932, 2475 for Thai people, that the system was turned from absolute monarchy into constitutional monarchy.— ในอดีตเราสูญเสียโอกาสอย่างในสมัยอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำพลเรือนในการปฏิวัติเมื่อ ค.ศ.1932 หรือ พ.ศ. 2475 กลายเป็นว่า เป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนจากระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูไป
คุณจักรภพเจตนาใช้คำว่า civilian leader ขยายคุณสมบัติของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อย้ำว่าว่าบุคคลที่คุณจักรภพเพิ่งกล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ผู้นำ ซึ่งคุณจักรภพคิดว่านั่นเป็นเพียง myth หรือ belief
ดังนั้น โอกาสที่สูญเสียไปในทรรศนะของคุณจักรภพคือ ทั้งๆ ที่ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำพลเรือน แต่ก็มิได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริยาธิปไตยให้กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พลเรือนเป็นทั้งผู้นำรวมถึงทั้งประมุขของรัฐ
คุณจักรภพเชื่อสนิทใจว่า ประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ (ระบอบกษัตริยาธิปไตย) ขัดแย้งกันโดยตรง จึงได้กล่าวหนักแน่นภายหลังว่า WE have to undo it. WE have to personalize patronage system by saying that, well, who keeps patronizing people. And I believe that the time is near to do that.— พวกเราต้องแก้ไข พวกเราต้องเปลี่ยนแปลงระบบอุปถัมภ์ (ระบอบกษัตริยาธิปไตย) โดยช่วยกันตั้งคำถามว่า ใครกันที่เฝ้าวนเวียนแต่คอยหยิบยื่นความอุปถัมภ์แก่ประชาชน ผมเชื่อว่า เวลาที่จะทำดังว่าใกล้เข้ามาแล้ว
คำถาม 2 คำถามสุดท้ายมีว่าคำว่า we หรือ พวกเรา หมายถึงใครแน่ ? หมายถึง คุณจักรภพในฐานผู้แสดงปาฐกถารวมทั้งผู้ฟังปาฐกถา ? หมายถึงประชาชนคนไทยทั่วไป ? หรือหมายถึง คุณจักรภพ กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และผู้แวดล้อมวงในทั้งหมด ??? กับคำถามว่า เวลาที่จะทำดังว่าใกล้เข้ามาแล้ว คือ วันนี้หรือพรุ่งนี้ ?
คำตอบมิได้อยู่ในสายลม และเป็นคำตอบที่ “ฟ้ารู้ ดินรู้ เรารู้ ท่านรู้” และแน่นอน บุรุษชื่อ จักรภพ เพ็ญแข ก็รู้ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ก็รู้ นอกจากนี้ ศาลท่านจะรู้หรือไม่ ? และจะทำให้ประชาชนทั่วไปรู้หรือไม่ ? และเมื่อคนไทยรู้แล้วจะคิดหรือทำอะไรเป็นประการต่อไป ???
โดย อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นานนับสัปดาห์ที่ คุณจักรภพ เพ็ญแข ตกเป็นข่าวให้ผู้คนกล่าวถึง ภายหลังจากที่บทแปลปาฐกถาที่คุณจักรภพเคยแสดงไว้ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เมื่อเดือนกันยายน 2550 เผยแพร่สู่สาธารณะ ก็ก่อให้เกิดประเด็นให้ผู้คนกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่า ถ้อยคำและเนื้อหาที่คุณจักรภพแสดงปาฐกถาไว้นั้นเข้าข่าย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์ยังแสดงความเห็นด้วยว่า ทรรศนะของคุณจักรภพ เพ็ญแขที่แสดงไว้ที่ FCCT เป็น “ทรรศนะอันเป็นอันตราย” ผู้เขียนสนใจใคร่รู้ว่าทรรศนะของคุณจักรภพที่กล่าวกันว่าเป็นอันตรายนั้นมีลักษณะอย่างไร จึงได้ลองวิเคราะห์ปาฐกถาของคุณจักรภพอย่างเป็นวิชาการตามแนวทางอักษรศาสตร์ดู
ข้อตกลงเบื้องต้น
เนื่องจากปาฐกถาที่ FCCT บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ตามที่จะยกมานี้ เมื่อต้องยกตัวอย่าง ผู้เขียนจะยกโดยใช้คำแปลภาษาไทยซึ่งผู้เขียนแปลเอง คำแปลที่ใช้ เลือกใช้วิธีแปลแบบเอาความซึ่งมุ่งความเข้าใจในบทพากย์ภาษาไทยมากกว่าจะสนใจเก็บรักษาทุกถ้อยคำตามภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาต้นฉบับ การวิเคราะห์ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า คุณจักรภพเป็นผู้รู้ภาษาอังกฤษระดับดีมากจนสามารถสื่อความคิดที่ซับซ้อน เรียบเรียงออกมาให้เข้าใจง่ายด้วยภาษาง่ายๆ และสามารถโต้ตอบกับผู้ฟังได้คล่องแคล่ว ผู้เขียนไม่สนใจประเมินภาษาอังกฤษของคุณจักรภพว่า เป็นภาษาที่สวยงามหรือไม่ ถูกไวยากรณ์มากน้อยเพียงใด คำที่ใช้ใช้ตามแบบเจ้าของภาษาอย่างรู้จริงหรือไม่ เนื่องจากผู้เขียนต้องการวิเคราะห์ทรรศนะหรือความคิดของคุณจักรภพมากกว่าจะวิเคราะห์ตัวภาษาในฐานะที่เป็น form หรือพาหะของความคิด
โครงสร้างเนื้อหาปาฐกถาที่ FCCT
หัวข้อปาฐกถาของคุณจักรภพที่ FCCT คือ Democracy and Patronage System of Thailand—ประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ของไทย คุณจักรภพแสดงโดยเหลือบดูบทร่างเป็นระยะๆ ปาฐกถานี้มีเนื้อหาเป็นเอกภาพอย่างยิ่ง เนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนที่ 1 ว่าด้วยประวัติและพัฒนาการระบบอุปถัมภ์ของไทยในสมัยสุโขทัยมาจนถึงปัจจุบันอย่างย่อๆ ส่วนนี้คุณจักรภพพยายามวิเคราะห์ให้เห็นรากเหง้าของระบบอุปถัมภ์ของไทยและผลกระทบที่มีต่อวิกฤติการเมืองของไทยในปัจจุบัน
ส่วนที่ 2 เป็นบทสรรเสริญความกล้าหาญ พ.ต.ต. ทักษิณ ชินวัตร ที่กล้าเผชิญหน้ากับระบบอุปถัมภ์อย่างซึ่งๆ หน้า และผลงานบริหารราชการแผ่นดินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มีส่วนอย่างสำคัญในการทำลายระบบอุปถัมภ์ของไทย
และส่วนที่ 3 เป็นคำประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดแจ้งและแรงกล้าของคุณจักรภพว่า คุณจักรภพและพวกจะทำลายระบบอุปถัมภ์ของไทยให้ภินท์พังลงแบบชนิดขุดรากถอนโคน และตั้งใจจะทำให้เกิดขึ้นในช้าไม่นานหลังจากนี้
Patronage System : คำที่มีสถิติใช้สูงสุด
คำที่เป็น key word ในปาฐกถาที่ FCCT ของคุณจักรภพคือ patronage system ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับ key word ของคุณจักรภพดังนี้
1) คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system รวมจำนวน 24 แห่ง (ไม่นับที่เป็นชื่อหัวข้อปาฐกถาและที่ปรากฏในส่วนคำถามคำตอบท้ายปาฐกถา) และใช้คำว่า patronize จำนวน 7 แห่ง
2) โดยทั่วไป patronage มักแปลว่า ความอุปถัมภ์ patronage system แปลว่า ระบบอุปถัมภ์ ส่วน patronize แปลว่า อุปถัมภ์, อุปถัมภ์ค้ำจุน, ช่วยเหลือ, เกื้อกูล
Patronage System : คำความหมาย 2 นัยยะ
คุณจักรภพ ใช้คำว่า patronage หรือ patronage system ในความหมายที่แตกต่างกัน 2 นัยยะ ดังนี้
นัยยะที่ 1 :
patronage system คือ “ระบบที่ยอมรับความแตกต่างของฐานะของคนในสังคมระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย ผู้ใหญ่และผู้น้อยมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลกันและอำนวยประโยชน์แก่กัน”
ตามนัยยะนี้ ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบ win-win ทั้งผู้เกื้อกูลและผู้รับประโยชน์เกื้อกูล ส่วนผู้ที่ไม่ win ด้วย คือ ผู้น้อยคนอื่นที่ไม่ได้รับประโยชน์เกื้อกูลด้วย ดังนั้นระบบอุปถัมภ์จึงไม่ใช่ระบบที่ยืนอยู่บนความคิดเสมอภาค แต่ก็ไม่ถึงกับขัดหรือแย้งกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยในลักษณะที่จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ประการสำคัญตามนัยยะนี้ ระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่อุดมการณ์ทางการเมือง ไม่ใช่ระบอบการปกครอง แต่เป็นระบบความสัมพันธ์ของคนในสังคม และไม่ใช่ระบบที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทย ปัจจุบัน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และหลายชาติของเอเชียก็ยังมีระบบนี้อยู่
คุณจักรภพ ใช้ patronage system ตามนัยยะนี้เพียง 2 แห่ง ทั้ง 2 แห่งใช้เมื่อกล่าวถึงตนและครอบครัวซึ่งเติบโตขึ้นมาในสังคมไทยที่มีระบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดังนี้
I myself grew up in patronage system.—ตัวผมเองเติบโตขึ้นมาภายใต้ระบบอุปถัมภ์
He grew up in patronage system too.—เขา (หมายถึงบิดาของคุณจักรภพ) ก็เติบโตขึ้นมาในระบบอุปถัมภ์เช่นกัน
นัยยะที่ 2 :
patronage system ตามนัยยะที่ 2 เป็นความหมายเฉพาะของคุณจักรภพ ซึ่งผู้เขียนจะวิเคราะห์ในลำดับต่อจากนี้ไปว่ามีความหมายเฉพาะว่าอย่างไร คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system ตามนัยยะนี้มากถึง 21 แห่ง มีแห่งเดียวที่กำกวม ไม่แน่ใจว่าคุณจักรภพใช้คำว่า patronage system ตามนัยยะที่ 1 หรือนัยยะที่ 2
ทำไม patronage system ของคุณจักรภพจึงได้มี 2 นัยยะ ?
ตามปกติคำที่เราใช้สื่อสารกัน แม้ว่ามี form เดียวกัน แต่ผู้ใช้ภาษาอาจใช้ในความหมายแตกต่างกันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่มีความหมายเชิงนามธรรม ความหมายที่แตกต่างกัน อาจเกิดจากสาเหตุที่ผู้ใช้เข้าใจความต่างกัน ตีความต่างกัน หรือผู้ใช้กำหนดความหมายของคำให้แตกต่างกันก็ได้ เช่นคำว่า แม่ชี คนกลุ่มหนึ่งอาจตีความเคร่งครัดตามหลักพุทธศาสนาเถรวาทว่า ไม่ใช่นักบวช เป็นฆราวาส มีฐานะเพียงอุบาสิกาซึ่งถืออุโบสถศีล หรือ ศีล 8 แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งอาจตีความตามความเข้าใจของคนไทยปัจจุบันว่า แม่ชีเป็นนักบวชหญิงในพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทยๆ
ตามความรู้รัฐศาสตร์ที่คุณจักรภพได้ร่ำเรียนมา คุณจักรภพย่อมรู้จัก patronage system ตามนัยยะที่ 1 อย่างดี แต่คุณจักรภพเลือกที่จะกำหนดความหมายใหม่ ซึ่งเป็นความหมายเฉพาะแก่คำว่า patronage system ทำให้คำนี้มีความหมายเฉพาะแตกต่างกับความหมายตามนัยยะที่ 1 หลายประการ ดังนี้
1) เป็นระบบที่ผู้น้อยเป็นฝ่ายพึ่งพิงหรือคอยเฝ้ารับประโยชน์เกื้อกูลแต่ฝ่ายเดียว ในทำนองเดียวกัน ผู้ใหญ่ก็เป็นฝ่ายเกื้อกูลเพียงลำพัง ส่งผลให้ผู้คน ask about dependency before our own capability to do things—ร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
2) เป็นระบบที่ฝ่ายที่คอยเฝ้ารับประโยชน์หรือพึ่งพิงต้องจ่ายค่าตอบแทนความเกื้อกูลด้วย ความจงรักภักดี และเป็นระบบที่คุณจักรภพคิดว่า มีแต่เฉพาะในประเทศไทย จึง makes Thai people different from many peoples around the world…So people had duty to be loyal.— ทำให้คนไทยแตกต่างกับผู้คนอื่นใดในโลก…ดังนั้นประชาชนจึงมีหน้าที่ต้องจงรักภักดี
3) เป็นระบบที่ฝ่ายเกื้อกูลคือพระมหากษัตริย์ ส่วนฝ่ายเฝ้ารับประโยชน์คือสามัญชน
คุณจักรภพเชื่อมโยงความคิดอย่างมีชั้นเชิงโดยเริ่มต้นกล่าวว่า …we have started off as a country in patronage system—เราตั้งต้นด้วยการเป็นประเทศที่อาศัยระบบอุปถัมภ์ แล้วก็กล่าวข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ที่โปรดให้แขวงกระดิ่งร้องทุกข์ไว้หน้าวัง จักรภพมองว่า ประชาชนที่ไปสั่นกระดิ่ง คือผู้เมื่อเดือดร้อนก็ที่ไม่ยอมพึ่งตนเอง แต่กลับไปรับประโยชน์อุปถัมภ์จากพ่อขุนรามคำแหง คุณจักรภพแสดงทรรศนะว่า นี่เป็นเหตุให้ผู้คน …are led into the patronage system—เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบบอุปถัมภ์
นั่นหมายความว่า คุณจักรภพกำหนดความหมาย ผู้ใหญ่กับผู้น้อยให้แคบลงมากว่าความหมายของ patronage system ตามนัยยะที่ 1 คือ ผู้ใหญ่ที่ให้ความอุปถัมภ์คือพระมหากษัตริย์ ส่วนผู้น้อยที่คอยเฝ้าแต่จะรับการอุปถัมภ์โดยไม่พึ่งพาตนเองคือประชาชนทั่วไป
4) เป็นระบบที่ทำให้คนไทยคิดว่า we don’t actually need democracy. We are led into believing that the best form of government is guided democracy, or democracy with His Majesty greatest guidance…which I see as a clash or the clash between democracy and patronage system.— คนไทยเราจึงไม่ได้ปรารถนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เราถูกชักนำให้เชื่อว่า รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดคือ ประชาธิปไตยแบบชี้นำ หรือประชาธิปไตยภายใต้การชี้นำอย่างมากมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
5) เป็นระบบที่ is in direct conflict with democratization—ขัดแย้งโดยตรงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณจักรภพจะใช้คำว่า patronage system เป็นคู่ตรงข้ามกับ democracy หรือ ประชาธิปไตย คุณจักรภพจึงแสดงทรรศนะว่า ระบบอุปถัมภ์กับประชาธิปไตยไม่อาจอยู่ร่วมกันได้
คุณจักรภพวิเคราะห์ว่า Current political crisis in my opinion is the clash between democracy and patronage system directly.— ในทรรศนะของผมวิกฤติทางการเมืองในปัจจุบันเป็นการปะทะกันระหว่างประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์
และแสดงความชื่นชม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรว่า เป็นผู้ทำลายระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
…what he did was to release people from patronage system, but when the most crucial decision comes, even him, made the decision out of patronage system. So the deep root of the patronage system is here…—สิ่งที่ท่านนายกฯ ทักษิณทำเป็นการปลดปล่อยประชาชนออกจากระบบอุปถัมภ์ เมื่อได้ตัดสินใจครั้งสำคัญ ท่านก็ตัดสินใจออกจากระบบอุปถัมภ์ แต่ระบบอุปถัมภ์ได้หยั่งรากลงลึกเสียแล้ว
เมื่อจบปาฐกถาผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้ถามคำถามย้อนคุณจักรภพเกี่ยวกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรกับระบบอุปถัมภ์ว่า
Wasn’t it as much patronage under Taksin Shinawatra? Doesn’t he rely on patronage to bring people on board as well?— ก็มีระบบอุปถัมภ์อย่างมากมายในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มิใช่หรือ ? ทักษิณเองก็อาศัยระบบอุปถัมภ์ดึงประชาชนมาเป็นพวกอย่างมากเหมือนกันมิใช่หรือ ?
คำถามดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ตั้งคำถามเข้าใจคำว่า patronage system ตามนัยยะที่ 1 ซึ่งผู้ให้ความอุปถัมภ์อาจเป็นใครก็ได้ ตามนัยยะนี้ ผู้ถามจึงเข้าใจว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จัดเป็นผู้ใหญ่คนสำคัญที่ให้ความอุปถัมภ์แก่ผู้น้อยคือประชาชน เป็นคนละนัยยะกับของคุณจักรภพ เพราะตามนัยยะของคุณจักรภพ ผู้ใหญ่ในระบบอุปถัมภ์จำกัดว่าเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น
Patronage System = Monarchy ???!!!
คำว่า patronage มาจากต้นศัพท์ภาษาละตินว่า pater แปลว่า “พ่อ” คำว่า pater เป็นคำร่วมเชื้อสายกับคำว่า father ในภาษาอังกฤษ
ทันทีที่คุณจักรภพเริ่มกล่าวถึงต้นพัฒนาการของ patronage system คุณจักรภพก็กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหง คุณจักรภพเลือกใช้คำว่า Great father แทนคำว่า พ่อขุน ดังนี้
In Sukhothai…we were led to know and believe that one of the kings during Sukhothai period, King Ramkhamhaeng, at the time, to be more precisely “Great Brother” –er I’m sorry “Great Father Ramkhamhaeng”— สมัยสุโขทัย…เราถูกชักนำให้เชื่อว่ากษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยสุโขทัยคือพระเจ้ารามคำแหง หรือที่ถูกต้องคือ พี่ขุน อ้อ ขอโทษครับ พ่อขุนรามคำแหง
คำว่า พ่อขุน มีความหมายเหมือนคำว่า king จากคำปาฐกถาของคุณจักรภพ คุณจักรภพก็รู้ดี เมื่อรู้ดีเช่นนั้นทำให้เกิดคำถามว่า
ทำไมคุณจักรภพไม่ใช้คำว่า King Ramkhamhaeng แต่กลับเจตนาใช้ Great father Ramkhamhaeng ?
คำตอบที่เป็นไปได้มี 2 ทาง
คำตอบทางที่ 1 :
คุณจักรภพต้องการแปลให้ตรงกับภาษาไทย พ่อขุนรามคำแหง = Great father Ramkhamhaeng
ถ้าคำตอบเป็นคำตอบนี้ จะทำให้เกิดคำถามตามมาอีกว่า ใช้ Great father Ramkhamhaeng สื่อความคิดดีหรือมีประสิทธิภาพกว่า King Ramkhamhaeng อย่างไร ? คำตอบที่จะให้แก่คำถามหลังนี้ หาไม่พบจากปาฐกถาของคุณจักรภพหรือแม้แต่จากที่อื่นๆ
ถ้าเช่นนั้น ลองพิจารณาคำตอบทางที่ 2
คำตอบทางที่ 2 :
มีความเป็นไปได้สูงมากว่า คุณจักรภพรู้ว่าต้นศัพท์ของ patronage คือ pater ซึ่งเป็นคำร่วมเชื้อสายกับ father คุณจักรภพเลือกใช้คำว่า Great Father Ramkhamhaeng แทน king Ramkhamhaeng เพื่อที่จะบ่งเป็นนัยๆ อย่างชาญฉลาดแก่ผู้ฟังว่า
patronage = Great Father = king
คุณจักรภพสร้างตรรกะดังกล่าวก็เพื่อวัตถุประสงค์ปลายทางคือการกำหนดความหมายเฉพาะแก่คำว่า patronage system ซึ่งเป็น key word ในปาฐกถาว่า ไม่มีนัยยะที่ 1 แต่มีนัยยะที่ 2 คือ “ระบบที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญในสังคม เป็นระบบที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบความอุปถัมภ์ในรูปของความช่วยเหลือเพียงน้อยนิดแก่ประชาชนเพื่อแลกกับความจงรักภักดีและแลกกับการคงดำรงอยู่ในฐานะสูงสุดในทางการปกครอง” ความหมายใหม่นี้เองทำให้คุณจักรภพกล่าวว่า ระบบอุปถัมภ์นั้น is in direct conflict with democratization—ขัดแย้งโดยตรงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้วิเคราะห์ระบบคิดของคุณจักรภพได้ว่า
เมื่อ Patronage = Great Father = King
การอุปถัมภ์ = พ่อขุน = กษัตริย์
ดังนั้น Patronage System = King system = Monarchy
ระบบอุปถัมภ์ = ระบบกษัตริย์ = ระบอบกษัตริยาธิปไตย
เมื่อลองนำคำว่า monarchy ไปแทนที่คำว่า patronage หรือ patronage system ซึ่งใช้ตามนัยยะที่ 2 และใช้จำนวนมากถึง 21 แห่ง ก็พบว่า แทนที่กันได้และเข้ากับเนื้อความได้สนิทเป็นอย่างดี
When we have problem, turn to someone who can help you. So before we know it, we are led into the PATRONAGE SYSTEM because we ask about dependency before our own capability to do things.
When we have problem, turn to someone who can help you. So before we know it, we are led into the MONARCHY because we ask about dependency before our own capability to do things.
ดังนั้น ข้อความข้างต้นแทนที่จะแปลว่า
—ยามใดที่เราเมื่อประสบปัญหา เราก็หันไปพึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งสามารถช่วยเราได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่เราจะทันรู้ตัว เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบบอุปถัมภ์เสียแล้ว เพราะเราร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
ที่ถูกควรแปลว่า
—ยามใดที่เราเมื่อประสบปัญหา เราก็หันไปพึ่งพระองค์ผู้เดียวซึ่งสามารถช่วยเราได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่เราจะทันรู้ตัว เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบอบกษัตริยาธิปไตยเสียแล้ว เพราะเราร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
ที่สำคัญเมื่อแทนที่ patronage system ทำให้เข้าใจกระจ่างกว่าด้วยซ้ำว่า เหตุใดคุณจักรภพจึงแสดงตัวอย่างเฉพาะความอุปถัมภ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบแด่ประชาชน โดยเว้นไม่อภิปรายถึงความอุปถัมภ์ลักษณะอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างขุนนางผู้ใหญ่กับขุนนางผู้น้อย นายกับบ่าว ฯลฯ ในกรณีสังคมเก่า หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน รุ่นพี่กับรุ่นน้อง นักการเมืองกับหัวคะแนน ฯลฯ ในกรณีสังคมปัจจุบัน
“โอกาสที่สูญเสียไป” ในทรรศนะของจักรภพ ?
คุณจักรภพคิดว่า ระบบอุปถัมภ์ หรือให้ตรงกว่านั้น ระบอบกษัตริยาธิปไตย มีกำเนิดและหยั่งรากฝังลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ใน “ระยะเวลาที่ยาวนาน” ของประวัติศาสตร์ระบบอุปถัมภ์หรือระบอบกษัตริยาธิปไตย การครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็เป็นส่วนหนึ่งอยู่ด้วย เวลาที่ยาวนานทำให้ประชาชนแยก perception หรือ การรับรู้ ไม่ออกว่า เป็น ความจริง หรือเป็น ปะรำปะราคติ
And then, here we are in the reign of the current King, King Bhumibhol or Rama IX. We have all of that combined. And because he reigns for so long of a time, 60 some years now, his being in Thailand has been promoted to the state of myth. People don’t know whether or not they’re talking about realities or belief about him. Because he reigns long enough that he could be all of those combined: the traditional King, the scientific King, the developing King, the working monarch, and now so, he can still be the guardian of the new invention to Thailand, democracy.— ขณะนี้เราอยู่ในรัชกาลปัจจุบัน รัชกาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือรัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์รัชกาลนี้มีทุกประการที่ผมได้กล่าวมาแล้วรวมกัน เนื่องจากพระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานกว่า 60 ปีแล้ว ประชาชนจึงยกพระองค์ขึ้นสู่เทวตำนาน โดยมิพักรู้เลยว่า พวกเขากำลังกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่เป็นบุคคลจริงหรือเป็นบุคคลในความเชื่อปะรำปะราคติ ด้วยว่าพระองค์ทรงครองราชย์ยืนนานมาจนทรงสามารถเป็นได้ทุกอย่างรวมกัน ทั้งกษัตริย์ที่สืบคติต่อกันมา กษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ กษัตริย์นักพัฒนา กษัตริย์ผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และทุกวันนี้ ยังได้ทรงดำรงฐานะผู้พิทักษ์สิ่งใหม่ของไทย คือ ประชาธิปไตย
ข้อความตอนท้ายที่ว่า ยังได้ทรงดำรงฐานะผู้พิทักษ์สิ่งใหม่ของไทย คือ ประชาธิปไตย เป็นเรื่องที่คุณจักรภพต้องการให้ผู้ฟังใช้วิจารณญาณตรองอีกครั้งว่าเป็น reality หรือ belief
จากนั้นคุณจักรภพต่อความคิดทันทีว่า
We missed some opportunities in the past like when Predee Panomyong, the civilian leader of the revolution of 1932, 2475 for Thai people, that the system was turned from absolute monarchy into constitutional monarchy.— ในอดีตเราสูญเสียโอกาสอย่างในสมัยอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำพลเรือนในการปฏิวัติเมื่อ ค.ศ.1932 หรือ พ.ศ. 2475 กลายเป็นว่า เป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนจากระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูไป
คุณจักรภพเจตนาใช้คำว่า civilian leader ขยายคุณสมบัติของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อย้ำว่าว่าบุคคลที่คุณจักรภพเพิ่งกล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ผู้นำ ซึ่งคุณจักรภพคิดว่านั่นเป็นเพียง myth หรือ belief
ดังนั้น โอกาสที่สูญเสียไปในทรรศนะของคุณจักรภพคือ ทั้งๆ ที่ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำพลเรือน แต่ก็มิได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริยาธิปไตยให้กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พลเรือนเป็นทั้งผู้นำรวมถึงทั้งประมุขของรัฐ
คุณจักรภพเชื่อสนิทใจว่า ประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ (ระบอบกษัตริยาธิปไตย) ขัดแย้งกันโดยตรง จึงได้กล่าวหนักแน่นภายหลังว่า WE have to undo it. WE have to personalize patronage system by saying that, well, who keeps patronizing people. And I believe that the time is near to do that.— พวกเราต้องแก้ไข พวกเราต้องเปลี่ยนแปลงระบบอุปถัมภ์ (ระบอบกษัตริยาธิปไตย) โดยช่วยกันตั้งคำถามว่า ใครกันที่เฝ้าวนเวียนแต่คอยหยิบยื่นความอุปถัมภ์แก่ประชาชน ผมเชื่อว่า เวลาที่จะทำดังว่าใกล้เข้ามาแล้ว
คำถาม 2 คำถามสุดท้ายมีว่าคำว่า we หรือ พวกเรา หมายถึงใครแน่ ? หมายถึง คุณจักรภพในฐานผู้แสดงปาฐกถารวมทั้งผู้ฟังปาฐกถา ? หมายถึงประชาชนคนไทยทั่วไป ? หรือหมายถึง คุณจักรภพ กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และผู้แวดล้อมวงในทั้งหมด ??? กับคำถามว่า เวลาที่จะทำดังว่าใกล้เข้ามาแล้ว คือ วันนี้หรือพรุ่งนี้ ?
คำตอบมิได้อยู่ในสายลม และเป็นคำตอบที่ “ฟ้ารู้ ดินรู้ เรารู้ ท่านรู้” และแน่นอน บุรุษชื่อ จักรภพ เพ็ญแข ก็รู้ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ก็รู้ นอกจากนี้ ศาลท่านจะรู้หรือไม่ ? และจะทำให้ประชาชนทั่วไปรู้หรือไม่ ? และเมื่อคนไทยรู้แล้วจะคิดหรือทำอะไรเป็นประการต่อไป ???
Wednesday, October 11, 2006
ประวัติ 26 ครม. ในรัฐบาลชุดใหม่
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/newgov/index.html
วันที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แล้วนั้น
บัดนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามความในมาตรา 14 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ดังนี้
1) หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เกิดที่วังเทเวศร์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2490 จบปริญญาโทธุรกิจต่างประเทศ และการเงิน จากวาร์ตัน สกูล ออฟ ไฟแนนซ์ แอนด์ คอมเมิซ ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ เพนซิลวาเนีย เมื่อปี 2513 เคยเป็นรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า เคยเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์รวมถึงสมาชิกวุฒิสภา และเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปี 2544
2)นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เกิดที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2486 จบปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา เริ่มทำงานที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจนเป็นรองเลขาธิการ ด้านการเมืองเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และตำแหน่งล่าสุดเป็นประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพจำกัดมหาชน
3)คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2489 จบการศึกษาปริญญาโทบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เริ่มทำงานที่สำนักงาน ก.พ. จนเป็นเลขาธิการ ก.พ. ซึ่งนับเป็นสตรีคนแรก ต่อมาในปี 2545 เป็นปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารคนแรก และย้ายมาเป็นปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี 2547 นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลทางด้านสตรี อีกหลายรางวัล
4)นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2498 จบการศึกษาปริญญาเอกรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นทำงานเป็นนักข่าว ที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ต่อมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จนเป็นคณบดีและยังได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมรัฐศาสตร์ แห่งประเทศไทย มีผลงานวิจัยหลายชิ้นอันเป็นที่มาของการจัดตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น
5) พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2484 จบโรงเรียนนายร้อย จปร.รุ่น 12 จบหลักสูตรการสงครามชั้นสูงจากฝรั่งเศส รวมถึงโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 52 รับราชการครั้งแรก ในหน่วยทหารราบและเกษียรอายุเมื่อปี 2545 ในตำแหน่งเสนาธิการทหารบก
6) พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เกิด วันที่ 6 เมายน 2483 คู่สมรส คุณหญิงมัญชุมาศ ห้าวเจริญ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายเกล้า ห้าวเจริญ
การศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล 2499 โรงเยนนายเรือเกียรตินิยมชั้นเอก 2506 โรงเรียนปราบเรือดำน้ำ สหรัฐอเมริกา 2512 โรงเรียนเสนาธิการทหารรเรือ 2518 เครื่องฝึกยุทธกีฬา สหราชอาณาจักร 2520 วิทยาลัยการทัพเรือสหรัฐอเมริกา 2525
วิทยาลัยการทัพเรือ 2533
จากนั้นไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณา (รุ่นที่ 36 ) 2537
ประวัติการรับราชการ
2518 เป็นผู้บังคับการเรือหลวงช้าง ต่อมาในปี2521 เป็นนายธงผู้บัญชาการทหารเรือและในปี 2526 นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ ต่อมาขยับเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารรเรือในปี 2527
ในปี 2529 ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารรเรือ ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐ 2533 เลขานุการกองทัพเรือ ในปี2535 เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ และขยับเป็นผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพเรือในปี 2536
ต่อมาในปี 2537 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธบริการ ก่อนจะมาเป็น รองเสนาธิการทหารเรือ ในปี 2538 และขยับเป็นเสนาธิการทหารเรือ ในปี 2539
ต่อมาในปี 2540ขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการทหารเรือ และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารรเรือ 2541- 2543
ตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกวุฒิสภา 2539-2542
หน้าที่และกิจกรรมพิเศษ
ราชองครักษ์พิเศษ ตุลาการศาลทหารสูงสุด อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียล อุปนายกสมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์
-มหาปริมาภรณ์ช้างเผือก
-มหาวชิรมงกุฎ
-ประถมาภรณ์ช้างเผือก
-เหรียญราชการชายแดน
-เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
-เหรียญ THE LEGION OF MERIT( DEGREE OF OFFICER) U.S.A.
7) นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2484 จบปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา เริ่มต้นรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี 2511 จนกษียรอายุราชการ เมื่อปี 2544 ในตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหัวหน้าคณะเจรจราข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอ ไทย-สหรัฐ ในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
8)นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2485 เริ่มรับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2509
ตำแหน่งที่สำคัญ
พ.ศ. 2514 เลขานุการโท เจ้าหน้าที่การทูต 5 คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทย
ประจำสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก
พ.ศ. 2517 เลขานุการโท เจ้าหน้าที่การทูต 5 กองนโยบายและวางแผนสำนักงานปลัดกระทรวง
พ.ศ. 2519 หัวหน้ากองเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจ
พ.ศ. 2520 หัวหน้ากองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง
พ.ศ.2521 เลขานุการเมือง เจ้าหน้าที่การทูต 6 สถานเอกอัครราชทูตไทย
ประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
พ.ศ. 2522 ที่ปรึกษา (เจ้าหน้าที่การทูต 8) สถานเอกอัครราชทูตไทย
ประจำกรุงปักกิ่ง
พ.ศ. 2523 อัครราชทูตที่ปรึกษา (เจ้าหน้าที่การทูต 9) สถานเอกอัครราชทูตไทย
ประจำกรุงปักกิ่ง
พ.ศ. 2524 รองอธิบดีกรมสารนิเทศ
พ.ศ. 2525 รองอธิบดีกรมการเมือง
พ.ศ. 2526 อธิบดี (เจ้าหน้าที่การทูต 10) กรมสารนิเทศ
พ.ศ. 2529 เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
พ.ศ. 2533 อธิบดีกรมเศรษฐกิจ
พ.ศ. 2536 เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
พ.ศ.2539 รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
พ.ศ. 2543 เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงแคนเบอร์ร่า
ทั้งนี้ เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2545
9)นายสุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา
เกิดที่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 สำเร็จการศึกษาสูงสุด ระดับปริญญาเอกด้านการบริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เคยรับราชการทหารประจำกรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด
จากนั้นเป็นรองโฆษกรัฐบาล สมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และเป็นโฆษกรัฐบาลสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อมาในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี 2543 มหาวิทยาลัยวูลลองกอง ประเทศออสเตรเลีย มีมติให้เป็นภาคีสมาชิกแห่งมหาวิทยาลัย ในฐานะบุคคลผู้ทำประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัยและมวลมนุษยชาติ
10)นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์
เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2484 สำเร็จการศึกษาสูงสุด ระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮัล ประเทศอังกฤษ เคยเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ต่อมาในปี 2540 เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน บทบาทด้านการเมือง เป็นวุฒิสมาชิก ในปี 2539 - 2543 และเป็นที่ปรึกษา ด้านปัญหาสังคม กระทรวงการคลัง ในสมัยแรกของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
11)ดร.ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เกิดเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 25484 ปัจจุบันอายุ 64 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ร.ร.อัสสัมชัญ เคยเป็นนิสิตคณะกสิกรรมและสัตวบาล ม.เกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2502 ก่อนจะไปศึกษาต่อปริญญาตรี B.S. Hons. ปริญญาโท M.S. และเอก Ph.D. Plant Pathology ที่ University of Califormia (Davis) ประเทศสหรัฐอเมริกา
หลังสำเร็จการศึกษาเมื่อปี 2511 ก็กลับมาเป็นอาจารย์ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มก. และปี 2520 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีระ สูตะบุตร ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองแผนงานมก.คนแรกยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบัน และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นคนแรก ในระหว่างปี 2534-2540
สมรส กับนางสุนงนาท สูตะบุตร มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ นายหรินทร์ นายธีร์ภัทร นายธนัย และนายธีรทัศ และได้ร่วมกับครอบครัวก่อตั้งและบริหารโรงเรียนพิชญศึกษา เมื่อปีพ.ศ. 2533
จากนั้นปี 2539 ก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมก. หลังจากพ้นวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีมก. ปี 2545 ก็ขอเกษียณอายุราชการแต่ยังวนเวียนอยู่ในแวดวงการศึกษา และการเกษตร ทั้งตำแหน่ง อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประธานกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน มก. และยังได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์ประจำปี. 2548
นอกจากนี้ ยังเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน) กษ. กรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กษ.
ประธานสภาสมาคมการเกษตรไทย นายกสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ
กรรมการบริหาร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กรรมการบริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า สำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการบริหารและกรรมการสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สภาวิจัยแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานคณะทำงานจัดทำโครงสร้างนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติระยะยาว (พ.ศ. 2551-2560)
12)นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2491 จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยบริดจ์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา ในเดือนธันวาคม 2544 ประกาศลาออกจากเลขาธิการ สภาพัฒน์ฯในขณะที่ยังเหลืออายุราชการอีก 6 ปี ให้เหตุผลว่าต้องการใช้เวลากับครอบครัว แต่มีเสียงวิจารณ์ว่าเป็นเพราะถูกกดดันทางการเมือง เพราะการทำงานของสภาพัฒน์ฯในรัฐบาล ”ทักษิณ” ไม่ค่อยเข้าขากับคนของรัฐบาล และลาออกจากตำแหน่งเลขาสภาพัฒน์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2545
13)นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อดีตผู้ทรงคุณวุฒิด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2481จบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ เกียรตินิยมจากเซอร์ จอห์น แคส มหาวิทยาลัยลอนดอน และปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา จากวิลเลียมส์ คอลเลจ สหรัฐอเมริกา
เริ่มทำงานในตำแหน่งเศรษฐกรเอก ที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการและปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และได้ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ 1 ปีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2541
14)นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหานคร เป็นชาวอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
เส้นทางการศึกษาหลังจากจบการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนศิริวิทยากร เดินทางเข้ากรุงเทพ เพื่อเรียนต่อม.ปลายที่โรงเรียนเซนต์จอห์น ระหว่างที่ศึกษาชั้น ม.ศ. 5 ได้รับทุน อเมริกัน ฟีลด์ เซอร์วิส เป็นเวลา 1 ปี
และเริ่มต้นในรั้วมหาวิทยาลัยที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เรียนได้เพียง 1 เดือน ก็ได้รับทุนโคลัมโบ แพลน ของรัฐบาล ออสเตรเลียสอบคัดเลือกได้ลำดับที่ 1 ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย นิวเซาท์เวลล์ จนได้รับปริญญาดอกเตอร์ ออฟ ฟิโลโซฟี ทางด้านโซลิด สเตท อีเลคทรอนิคส์
เข้ารับราชการที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบังนาน 14 ปี ก่อนจะลาออกมาก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครมาตั้งแต่ปี 2545 จนปัจจุบัน
15)นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา
เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2486 ที่ตำบลชนะสงคราม อำเภอพระนคร กรุงเทพมหานคร การศึกษาจบปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซิดนี ออสเตรเลีย รับราชการครั้งแรกที่กรมวิเทศสหการ
ก่อนจะมาร่วมงานกับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยตำแหน่งหลังสุดคือ ผู้อำนวยการสำนักข่าวไทย หลังจากนั้นบรรจุกลับเข้ารับราชการที่สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปี 2536 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ และในปี 2539 ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก 2543 ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ จนถึงปี 2544
รัฐบาลภายใต้การนำของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ได้มีคำสั่งย้ายจากปลัดกระทรวงไปเป็นที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านการค้า ระหว่างประเทศและปี 2545 ได้ให้ทนายยื่นฟ้องพันตำรวจดททักษิณและนายอดิศัย โพธารามิก ต่อศาลปกครอง กรณีโยกย้ายไม่เป็นธรรมแต่ศาลได้ยกฟ้องในปีต่อมา
16)นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อดีตประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บลจ. กสิกรไทย
เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2496 ที่กรุงเทพมหานคร จบปริญญาตรีคณิตศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด อังกฤษ ปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ และปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน
ในขณะอายุ 26 ปี เริ่มรับราชการที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มาร่วมดูแลนโยบายพลังงาน เป็นเลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติคนแรก
เคยเป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อปี 2543 ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ต่อมาในสมัยรัฐบาลทักษิณ ได้ย้ายไปเป็นเลขาธิการคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ และต่อมาถูกโอนไปเป็นรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และต่อมาถูกย้ายไปเป็นรองเลขาสภาพัฒน์ฯ
วันรุ่งขึ้นได้ยื่นหนังสือลาออกจากรราชการทันที ระบุไปประกอบอาชีพอื่น แต่เหตุผลลึกๆตลอด 2 ปี 8 เดือนถูกฝ่ายการเมืองย้ายไปอยู่ตำแหน่งต่างๆถึง 5 ตำแหน่ง แสดงให้เห็นว่าฝ่ายการเมืองไม่ให้โอกาสทำงานเท่าที่ควร
17)นายอารีย์ วงศ์อารยะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2478 จบปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยมิสซูรี สหรัฐ
เริ่มรับราชการเป็นปลัดอำเภอ ที่อำเภอบางกอกใหญ่ ธนบุรี เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี รองปลัดกระทรวงมหาดไทย/อธิบดีกรมที่ดิน และปลัดกระทรวงมหาดไทยในปี 2536 และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการใน ครม.ทักษิณ 10 เมื่อปี 2547
18)นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
เกิดวันที่ 29 ตุลาคม 2487 อายุ 62 ปี จบการศึกษาปริญญาโทสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ประวัติการทำงาน อดีตอธิบดีกรมที่ดิน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา,นครศรีธรรมราช,และ สงขลา อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นอดีตผู้อำนวยศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)คนสุดท้ายก่อยจะถูกยุบ
19)นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
เกิดวันที่ 25 เมษายน 2489 อายุ 60 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย ประวัติการทำงาน เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาในปี 2515 จากนั้นเป็นผู้พิพากษาประจำศาล และเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกระบี่, เพชรบุรี, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 3 รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง รองประธานศาลฎีกา ก่อนที่จะรับตำแหน่งประธานศาลฎีกา ในปี 2548
20)นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เกิดวันที่ 24 ธันวาคม 2486 อายุ 63 ปี จบการศึกษาปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประวัติการทำงาน อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
21) คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อายุ 69 ปี จบการศึกษาปริญญาโทอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
22) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เกิดวันที่ 4 พฤษภาคม 2487 อายุ 62 ปี จบการศึกษาปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อดีตผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ /นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นในปี 2527 และบุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2547
23) นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เกิดวันที่ 22 ธันวาคม 2477 อายุ 72 ปี จบปริญญาเอก ด้านบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมินนีโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟูลไบรท์
ประวัติการทำงาน อดีตอาจารย์คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตเลขาธิการ ก.พ. อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
24) นายมงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เกิดวันที่ 16 มกราคม 2484 อายุ 65 ปี จบแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประวัติการทำงาน อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อดีดปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นแพทย์ชนบทดีเด่นปี 2519
25) นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เกิดวันที่ 15 พฤศจิกายน 2492 อายุ 57 ปี จบการศึกษาปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ การเงินการคลัง มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประวัติการทำงาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม
26) นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2481 อายุ 68 ปี เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองโครงการเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วงปี 2536-2542
และตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
วันที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แล้วนั้น
บัดนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามความในมาตรา 14 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ดังนี้
1) หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เกิดที่วังเทเวศร์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2490 จบปริญญาโทธุรกิจต่างประเทศ และการเงิน จากวาร์ตัน สกูล ออฟ ไฟแนนซ์ แอนด์ คอมเมิซ ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ เพนซิลวาเนีย เมื่อปี 2513 เคยเป็นรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า เคยเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์รวมถึงสมาชิกวุฒิสภา และเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปี 2544
2)นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เกิดที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2486 จบปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา เริ่มทำงานที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจนเป็นรองเลขาธิการ ด้านการเมืองเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และตำแหน่งล่าสุดเป็นประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพจำกัดมหาชน
3)คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2489 จบการศึกษาปริญญาโทบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เริ่มทำงานที่สำนักงาน ก.พ. จนเป็นเลขาธิการ ก.พ. ซึ่งนับเป็นสตรีคนแรก ต่อมาในปี 2545 เป็นปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารคนแรก และย้ายมาเป็นปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี 2547 นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลทางด้านสตรี อีกหลายรางวัล
4)นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2498 จบการศึกษาปริญญาเอกรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นทำงานเป็นนักข่าว ที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ต่อมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จนเป็นคณบดีและยังได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมรัฐศาสตร์ แห่งประเทศไทย มีผลงานวิจัยหลายชิ้นอันเป็นที่มาของการจัดตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น
5) พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2484 จบโรงเรียนนายร้อย จปร.รุ่น 12 จบหลักสูตรการสงครามชั้นสูงจากฝรั่งเศส รวมถึงโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 52 รับราชการครั้งแรก ในหน่วยทหารราบและเกษียรอายุเมื่อปี 2545 ในตำแหน่งเสนาธิการทหารบก
6) พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เกิด วันที่ 6 เมายน 2483 คู่สมรส คุณหญิงมัญชุมาศ ห้าวเจริญ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายเกล้า ห้าวเจริญ
การศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล 2499 โรงเยนนายเรือเกียรตินิยมชั้นเอก 2506 โรงเรียนปราบเรือดำน้ำ สหรัฐอเมริกา 2512 โรงเรียนเสนาธิการทหารรเรือ 2518 เครื่องฝึกยุทธกีฬา สหราชอาณาจักร 2520 วิทยาลัยการทัพเรือสหรัฐอเมริกา 2525
วิทยาลัยการทัพเรือ 2533
จากนั้นไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณา (รุ่นที่ 36 ) 2537
ประวัติการรับราชการ
2518 เป็นผู้บังคับการเรือหลวงช้าง ต่อมาในปี2521 เป็นนายธงผู้บัญชาการทหารเรือและในปี 2526 นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ ต่อมาขยับเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารรเรือในปี 2527
ในปี 2529 ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารรเรือ ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐ 2533 เลขานุการกองทัพเรือ ในปี2535 เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ และขยับเป็นผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพเรือในปี 2536
ต่อมาในปี 2537 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธบริการ ก่อนจะมาเป็น รองเสนาธิการทหารเรือ ในปี 2538 และขยับเป็นเสนาธิการทหารเรือ ในปี 2539
ต่อมาในปี 2540ขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการทหารเรือ และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารรเรือ 2541- 2543
ตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกวุฒิสภา 2539-2542
หน้าที่และกิจกรรมพิเศษ
ราชองครักษ์พิเศษ ตุลาการศาลทหารสูงสุด อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียล อุปนายกสมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์
-มหาปริมาภรณ์ช้างเผือก
-มหาวชิรมงกุฎ
-ประถมาภรณ์ช้างเผือก
-เหรียญราชการชายแดน
-เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
-เหรียญ THE LEGION OF MERIT( DEGREE OF OFFICER) U.S.A.
7) นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2484 จบปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา เริ่มต้นรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี 2511 จนกษียรอายุราชการ เมื่อปี 2544 ในตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหัวหน้าคณะเจรจราข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอ ไทย-สหรัฐ ในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
8)นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2485 เริ่มรับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2509
ตำแหน่งที่สำคัญ
พ.ศ. 2514 เลขานุการโท เจ้าหน้าที่การทูต 5 คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทย
ประจำสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก
พ.ศ. 2517 เลขานุการโท เจ้าหน้าที่การทูต 5 กองนโยบายและวางแผนสำนักงานปลัดกระทรวง
พ.ศ. 2519 หัวหน้ากองเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจ
พ.ศ. 2520 หัวหน้ากองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง
พ.ศ.2521 เลขานุการเมือง เจ้าหน้าที่การทูต 6 สถานเอกอัครราชทูตไทย
ประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
พ.ศ. 2522 ที่ปรึกษา (เจ้าหน้าที่การทูต 8) สถานเอกอัครราชทูตไทย
ประจำกรุงปักกิ่ง
พ.ศ. 2523 อัครราชทูตที่ปรึกษา (เจ้าหน้าที่การทูต 9) สถานเอกอัครราชทูตไทย
ประจำกรุงปักกิ่ง
พ.ศ. 2524 รองอธิบดีกรมสารนิเทศ
พ.ศ. 2525 รองอธิบดีกรมการเมือง
พ.ศ. 2526 อธิบดี (เจ้าหน้าที่การทูต 10) กรมสารนิเทศ
พ.ศ. 2529 เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
พ.ศ. 2533 อธิบดีกรมเศรษฐกิจ
พ.ศ. 2536 เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
พ.ศ.2539 รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
พ.ศ. 2543 เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงแคนเบอร์ร่า
ทั้งนี้ เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2545
9)นายสุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา
เกิดที่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 สำเร็จการศึกษาสูงสุด ระดับปริญญาเอกด้านการบริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เคยรับราชการทหารประจำกรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด
จากนั้นเป็นรองโฆษกรัฐบาล สมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และเป็นโฆษกรัฐบาลสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อมาในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี 2543 มหาวิทยาลัยวูลลองกอง ประเทศออสเตรเลีย มีมติให้เป็นภาคีสมาชิกแห่งมหาวิทยาลัย ในฐานะบุคคลผู้ทำประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัยและมวลมนุษยชาติ
10)นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์
เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2484 สำเร็จการศึกษาสูงสุด ระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮัล ประเทศอังกฤษ เคยเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ต่อมาในปี 2540 เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน บทบาทด้านการเมือง เป็นวุฒิสมาชิก ในปี 2539 - 2543 และเป็นที่ปรึกษา ด้านปัญหาสังคม กระทรวงการคลัง ในสมัยแรกของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
11)ดร.ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เกิดเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 25484 ปัจจุบันอายุ 64 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ร.ร.อัสสัมชัญ เคยเป็นนิสิตคณะกสิกรรมและสัตวบาล ม.เกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2502 ก่อนจะไปศึกษาต่อปริญญาตรี B.S. Hons. ปริญญาโท M.S. และเอก Ph.D. Plant Pathology ที่ University of Califormia (Davis) ประเทศสหรัฐอเมริกา
หลังสำเร็จการศึกษาเมื่อปี 2511 ก็กลับมาเป็นอาจารย์ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มก. และปี 2520 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีระ สูตะบุตร ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองแผนงานมก.คนแรกยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบัน และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นคนแรก ในระหว่างปี 2534-2540
สมรส กับนางสุนงนาท สูตะบุตร มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ นายหรินทร์ นายธีร์ภัทร นายธนัย และนายธีรทัศ และได้ร่วมกับครอบครัวก่อตั้งและบริหารโรงเรียนพิชญศึกษา เมื่อปีพ.ศ. 2533
จากนั้นปี 2539 ก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมก. หลังจากพ้นวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีมก. ปี 2545 ก็ขอเกษียณอายุราชการแต่ยังวนเวียนอยู่ในแวดวงการศึกษา และการเกษตร ทั้งตำแหน่ง อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประธานกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน มก. และยังได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์ประจำปี. 2548
นอกจากนี้ ยังเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน) กษ. กรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กษ.
ประธานสภาสมาคมการเกษตรไทย นายกสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ
กรรมการบริหาร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กรรมการบริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า สำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการบริหารและกรรมการสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สภาวิจัยแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานคณะทำงานจัดทำโครงสร้างนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติระยะยาว (พ.ศ. 2551-2560)
12)นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2491 จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยบริดจ์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา ในเดือนธันวาคม 2544 ประกาศลาออกจากเลขาธิการ สภาพัฒน์ฯในขณะที่ยังเหลืออายุราชการอีก 6 ปี ให้เหตุผลว่าต้องการใช้เวลากับครอบครัว แต่มีเสียงวิจารณ์ว่าเป็นเพราะถูกกดดันทางการเมือง เพราะการทำงานของสภาพัฒน์ฯในรัฐบาล ”ทักษิณ” ไม่ค่อยเข้าขากับคนของรัฐบาล และลาออกจากตำแหน่งเลขาสภาพัฒน์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2545
13)นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อดีตผู้ทรงคุณวุฒิด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2481จบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ เกียรตินิยมจากเซอร์ จอห์น แคส มหาวิทยาลัยลอนดอน และปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา จากวิลเลียมส์ คอลเลจ สหรัฐอเมริกา
เริ่มทำงานในตำแหน่งเศรษฐกรเอก ที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการและปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และได้ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ 1 ปีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2541
14)นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหานคร เป็นชาวอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
เส้นทางการศึกษาหลังจากจบการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนศิริวิทยากร เดินทางเข้ากรุงเทพ เพื่อเรียนต่อม.ปลายที่โรงเรียนเซนต์จอห์น ระหว่างที่ศึกษาชั้น ม.ศ. 5 ได้รับทุน อเมริกัน ฟีลด์ เซอร์วิส เป็นเวลา 1 ปี
และเริ่มต้นในรั้วมหาวิทยาลัยที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เรียนได้เพียง 1 เดือน ก็ได้รับทุนโคลัมโบ แพลน ของรัฐบาล ออสเตรเลียสอบคัดเลือกได้ลำดับที่ 1 ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย นิวเซาท์เวลล์ จนได้รับปริญญาดอกเตอร์ ออฟ ฟิโลโซฟี ทางด้านโซลิด สเตท อีเลคทรอนิคส์
เข้ารับราชการที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบังนาน 14 ปี ก่อนจะลาออกมาก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครมาตั้งแต่ปี 2545 จนปัจจุบัน
15)นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา
เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2486 ที่ตำบลชนะสงคราม อำเภอพระนคร กรุงเทพมหานคร การศึกษาจบปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซิดนี ออสเตรเลีย รับราชการครั้งแรกที่กรมวิเทศสหการ
ก่อนจะมาร่วมงานกับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยตำแหน่งหลังสุดคือ ผู้อำนวยการสำนักข่าวไทย หลังจากนั้นบรรจุกลับเข้ารับราชการที่สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปี 2536 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ และในปี 2539 ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก 2543 ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ จนถึงปี 2544
รัฐบาลภายใต้การนำของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ได้มีคำสั่งย้ายจากปลัดกระทรวงไปเป็นที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านการค้า ระหว่างประเทศและปี 2545 ได้ให้ทนายยื่นฟ้องพันตำรวจดททักษิณและนายอดิศัย โพธารามิก ต่อศาลปกครอง กรณีโยกย้ายไม่เป็นธรรมแต่ศาลได้ยกฟ้องในปีต่อมา
16)นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อดีตประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บลจ. กสิกรไทย
เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2496 ที่กรุงเทพมหานคร จบปริญญาตรีคณิตศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด อังกฤษ ปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ และปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน
ในขณะอายุ 26 ปี เริ่มรับราชการที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มาร่วมดูแลนโยบายพลังงาน เป็นเลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติคนแรก
เคยเป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อปี 2543 ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ต่อมาในสมัยรัฐบาลทักษิณ ได้ย้ายไปเป็นเลขาธิการคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ และต่อมาถูกโอนไปเป็นรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และต่อมาถูกย้ายไปเป็นรองเลขาสภาพัฒน์ฯ
วันรุ่งขึ้นได้ยื่นหนังสือลาออกจากรราชการทันที ระบุไปประกอบอาชีพอื่น แต่เหตุผลลึกๆตลอด 2 ปี 8 เดือนถูกฝ่ายการเมืองย้ายไปอยู่ตำแหน่งต่างๆถึง 5 ตำแหน่ง แสดงให้เห็นว่าฝ่ายการเมืองไม่ให้โอกาสทำงานเท่าที่ควร
17)นายอารีย์ วงศ์อารยะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2478 จบปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยมิสซูรี สหรัฐ
เริ่มรับราชการเป็นปลัดอำเภอ ที่อำเภอบางกอกใหญ่ ธนบุรี เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี รองปลัดกระทรวงมหาดไทย/อธิบดีกรมที่ดิน และปลัดกระทรวงมหาดไทยในปี 2536 และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการใน ครม.ทักษิณ 10 เมื่อปี 2547
18)นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
เกิดวันที่ 29 ตุลาคม 2487 อายุ 62 ปี จบการศึกษาปริญญาโทสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ประวัติการทำงาน อดีตอธิบดีกรมที่ดิน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา,นครศรีธรรมราช,และ สงขลา อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นอดีตผู้อำนวยศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)คนสุดท้ายก่อยจะถูกยุบ
19)นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
เกิดวันที่ 25 เมษายน 2489 อายุ 60 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย ประวัติการทำงาน เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาในปี 2515 จากนั้นเป็นผู้พิพากษาประจำศาล และเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกระบี่, เพชรบุรี, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 3 รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง รองประธานศาลฎีกา ก่อนที่จะรับตำแหน่งประธานศาลฎีกา ในปี 2548
20)นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เกิดวันที่ 24 ธันวาคม 2486 อายุ 63 ปี จบการศึกษาปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประวัติการทำงาน อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
21) คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อายุ 69 ปี จบการศึกษาปริญญาโทอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
22) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เกิดวันที่ 4 พฤษภาคม 2487 อายุ 62 ปี จบการศึกษาปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อดีตผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ /นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นในปี 2527 และบุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2547
23) นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เกิดวันที่ 22 ธันวาคม 2477 อายุ 72 ปี จบปริญญาเอก ด้านบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมินนีโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟูลไบรท์
ประวัติการทำงาน อดีตอาจารย์คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตเลขาธิการ ก.พ. อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
24) นายมงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เกิดวันที่ 16 มกราคม 2484 อายุ 65 ปี จบแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประวัติการทำงาน อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อดีดปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นแพทย์ชนบทดีเด่นปี 2519
25) นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เกิดวันที่ 15 พฤศจิกายน 2492 อายุ 57 ปี จบการศึกษาปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ การเงินการคลัง มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประวัติการทำงาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม
26) นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2481 อายุ 68 ปี เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองโครงการเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วงปี 2536-2542
และตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
Friday, September 22, 2006
ย้อนรอย 11วัน ก่อนจะเป็น "นายกฯ เร่ร่อน"
20 กันยายน 2549
สายๆของวันที่ 9 กันยายน ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้เชื่อถือในเรื่องโชคลางอาจลืมไปว่า การเลือกเดินทางไปเยือนประเทศทากิจกีสถานในวันนี้ถือเอาฤกษ์กบฎ 9 กันยา เข้าพอดิบพอดี
เพราะเมื่อ 21 ปีก่อนพล.ต.มนูญ รูปจรและคณะนำรถถังออกมาโค่นรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่ล้มเหลว
และในวันที่พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มโปรแกรมทัวร์ถอยหลังสู่ภาวะซัดเซพเนจรครั้งนี้ ยังเป็นวันที่คณะนักวิชาการไปยื่นหนังสือถึงพล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเพื่อประกาศเจตนารมณ์หยุดระบอบทักษิณ พร้อมชู"ป๋าเปรม"เป็นแบบอย่างของคนไทยอีกด้วย
พ.ต.ท.ทักษิณ ไปขึ้นเครื่องที่บน.6 ท่ามกลางการอารักขาของหน่วยทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์สงครามครบมือเพื่อยังกลิ่นของคาร์บอมบ์และรัฐประหารยังไม่จาง
วันรุ่งขึ้น 10 กันายน กลิ่นปฏิวัติเริ่มโชยหนักขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณซึ่งเดินทางไปถึงกรุงเฮลซิงกิประเทศฟินแลนด์ เพื่อเข้าร่วมประชุมอาเซ็มได้พูดกับนักข่าวว่า ไม่ได้เป็นผู้พูดเรื่องปฏิวัติด้วยตัวเอง ถือเป็นเรื่องของข่าวลือและการปล่อยข่าว
แต่ที่เมืองไทย พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน รองปลัดกระทรวงกลาโหมปฏิบัติการดับเครื่องชน รัฐบาลและพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ฐานยุ่มย่ามโผย้ายทหาร โดยที่พล.อ.ธรรมรักษ์ประกาศจะเล่นงานตามกฎหมาย
ขณะที่จ่ายักษ์ ตัวละครสำคัญคดีคาร์บอมบ์ระบุว่า มีนายพล 3 นายแห่งกองทัพบก เข้าร่วมขบวนการลอบสังหารนายกฯ
วันที่ 11กันยายน เสร็จสิ้นการประชุมอาเซ็มที่ประเทศฟินแลนด์ พ.ต.ท.ทักษิณ เกิดเป็นไข้ขึ้นมากระทันหัน
จึงพาคณะเดินทางไปพักผ่อนที่ประเทศอังกฤษ เพื่อเตรียมเข้าร่วมประชุ่มกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ประเทศคิวบา
พ.ต.ท.ทักษิณ พุดติดตลกกับนักข่าวว่า ที่ยังไม่กลับประเทศไทยนั้น"ไม่ใช่เพราะขอลี้ภัย"
รุ่งขึ้น 12กันยายน อุณภูมิการเมืองในเมืองไทยร้อนระอุขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณเสร็จภารกิจที่ฟินแลนด์ แล้วมาพำนักอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
โดยกลุ่มอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวว่าจะนัดชุมนุมกันในวันที่ 14 กันยายน เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยุติบทบาททางการเมือง
ขณะที่ตัวแทนอาจารย์จุฬา และ เครือข่ายด้านสุขภาพเข้าพบ พล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์
โดยที่หนังสือพิมพ์เริ่มเปิดประเด็น พ.ต.ท.ทักษิณพูดผ่านรายการสถานีสนามเป้าว่า อาจจะเว้นวรรคการเมือง
วันที่ 13 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณใช้เวลาระหว่างอยู่ที่อังกฤษ เขียนจดหมายจากต่างประเทศถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย และประชาชน ขณะที่เทปสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มออกอากาศทางช่อง 5 เป็นตอนแรก
ในวันเดียวกันนี้ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกให้สัมภาษณ์ว่า ทหารไม่คิดปฏิวัติ กระแสที่ออกมาเป็นการปล่อยข่าวเพื่อกันไม่ให้ทหารปฏิวัติมากกว่า
ถัดมา วันที่ 14 กันยายน เครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรมชุมนุมภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกดดันให้พ.ต.ท.ทักษิณยุติบทบาททางการเมือง
พล.ท.พลางกูร กล้าหาญ โฆษกกองทัพบกแถลงยืนยันว่า ทหารไม่คิดปฏิวัติ ขณะที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลประกาศว่าจะชุมนุมใหญ่ในวันที่ 22 กันยายนเพื่อกดดันไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ
วันที่ 15 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์นักข่าวระหว่างเดิทางไปประชุมกลุ่มนามที่ประเทศคิวบาว่า อาจจะเว้นวรรคทางการเมือง โดยอาจจะประกาศในวันรับสมัครเลือกตั้ง สอดคล้องกับเทปรายการที่ออกอากาศทางช่อง 5 ว่าด้วยเรื่อง อาจเว้นวรรคพอดิบพอดี
พ.ต.ท.ทักษิณยังพูดเลยไปด้วยว่า เขานั้นเปรียบเหมือนพล.อ.เปรม ที่เคยถูกประชาชนขับไล่เมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ทำให้ทหารคนสนิทพล.อ.เปรม และหลายฝ่ายไม่พอใจ
ในวันเดียวกันนี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีมติชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนเป็นต้นไปเพื่อกดดันไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ
จะเรียกฝันร้ายในคิวบา ของ พ.ต.ท.ทักษิณก็คงไม่ผิดนัด วันรุ่งขึ้น16 กันยา เกิดเหตุระเบิดขึ้นในย่านการค้าและ ชุมชนอำเภอหาดใหญ่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บอีกหลายสิบ
ไม่เพียงเท่านั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงยืนยันจัดชุมนุม ยืดเยื้อวันที่ 20 กันยายน ขณะที่อีกฝ่ายเริ่มมีการเกณฑ์ประชาชนในอีสานหลายหมื่นคนเพื่อจุดหมายให้เผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรประชาชน
วันที่ 17 กันยายน สนธิ ลิ้มทองกุลแถลงยืนยันมติไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทย ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณเขียนจดหมายถึงประชาชนฉบับที่ 2 พ.ต.ท.ทักษิณ บอกกับนักข่าวว่าได้สั่งการให้ ผบ.ทบ. และ ผบ.ตร.ให้ลงไปดูแลแก้ไขปัญหาภาคใต้แล้ว
รุ่งขึ้นวันที่ 18 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ออกทางสีหน้า ระหว่างเดินทางจากคิวบามาแวะพักที่แคนคูน เม็กซิโก ก่อนจะต่อไปยังนิวยอร์ค
และวาระสุดท้ายในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 สมัยที่ 2 ก็มาถึง
ในวันที่19 กันยายน เช้าวันนั้นเวลา 09.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยใช้ web camera จากห้องพักที่โรงแรม Grand Hyatt นิวยอร์กมายังห้องประชุมครม.
พ.ต.ท.ทักษิณอาจไม่ทันได้สังเกตุว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่จะต้องมาร่วมประชุมครม.นัดพิเศษเพื่อรับทราบแนวทางแก้ปัญหาภาคใต้พากันหายหน้าไปหมด ส่งเพียงตัวแทนเข้ามาร่วม
กระทั่งค่ำวันนั้นตามเวลาในไทยหรือตอนสายๆวันที่ 18 ที่นิวยอร์ค พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเริ่มรู้ข่าวว่า ถูกคณะนายทหารก่อรัฐประหาร
พ.ต.ท.ทักษิณออกแถลงการณ์ตัดหน้าประกาศคณะปฏิวัติ แต่ทุกอย่างก็สายไปหมดแล้ว และสายไปเสียทุกอย่าง แม้กระทั่งจะเดินทางจากนิวยอร์ค ไปพำนักที่อังกฤษ ก็ยังต้องใช้เวลานานนับวัน
สายๆของวันที่ 9 กันยายน ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้เชื่อถือในเรื่องโชคลางอาจลืมไปว่า การเลือกเดินทางไปเยือนประเทศทากิจกีสถานในวันนี้ถือเอาฤกษ์กบฎ 9 กันยา เข้าพอดิบพอดี
เพราะเมื่อ 21 ปีก่อนพล.ต.มนูญ รูปจรและคณะนำรถถังออกมาโค่นรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่ล้มเหลว
และในวันที่พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มโปรแกรมทัวร์ถอยหลังสู่ภาวะซัดเซพเนจรครั้งนี้ ยังเป็นวันที่คณะนักวิชาการไปยื่นหนังสือถึงพล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเพื่อประกาศเจตนารมณ์หยุดระบอบทักษิณ พร้อมชู"ป๋าเปรม"เป็นแบบอย่างของคนไทยอีกด้วย
พ.ต.ท.ทักษิณ ไปขึ้นเครื่องที่บน.6 ท่ามกลางการอารักขาของหน่วยทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์สงครามครบมือเพื่อยังกลิ่นของคาร์บอมบ์และรัฐประหารยังไม่จาง
วันรุ่งขึ้น 10 กันายน กลิ่นปฏิวัติเริ่มโชยหนักขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณซึ่งเดินทางไปถึงกรุงเฮลซิงกิประเทศฟินแลนด์ เพื่อเข้าร่วมประชุมอาเซ็มได้พูดกับนักข่าวว่า ไม่ได้เป็นผู้พูดเรื่องปฏิวัติด้วยตัวเอง ถือเป็นเรื่องของข่าวลือและการปล่อยข่าว
แต่ที่เมืองไทย พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน รองปลัดกระทรวงกลาโหมปฏิบัติการดับเครื่องชน รัฐบาลและพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ฐานยุ่มย่ามโผย้ายทหาร โดยที่พล.อ.ธรรมรักษ์ประกาศจะเล่นงานตามกฎหมาย
ขณะที่จ่ายักษ์ ตัวละครสำคัญคดีคาร์บอมบ์ระบุว่า มีนายพล 3 นายแห่งกองทัพบก เข้าร่วมขบวนการลอบสังหารนายกฯ
วันที่ 11กันยายน เสร็จสิ้นการประชุมอาเซ็มที่ประเทศฟินแลนด์ พ.ต.ท.ทักษิณ เกิดเป็นไข้ขึ้นมากระทันหัน
จึงพาคณะเดินทางไปพักผ่อนที่ประเทศอังกฤษ เพื่อเตรียมเข้าร่วมประชุ่มกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ประเทศคิวบา
พ.ต.ท.ทักษิณ พุดติดตลกกับนักข่าวว่า ที่ยังไม่กลับประเทศไทยนั้น"ไม่ใช่เพราะขอลี้ภัย"
รุ่งขึ้น 12กันยายน อุณภูมิการเมืองในเมืองไทยร้อนระอุขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณเสร็จภารกิจที่ฟินแลนด์ แล้วมาพำนักอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
โดยกลุ่มอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวว่าจะนัดชุมนุมกันในวันที่ 14 กันยายน เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยุติบทบาททางการเมือง
ขณะที่ตัวแทนอาจารย์จุฬา และ เครือข่ายด้านสุขภาพเข้าพบ พล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์
โดยที่หนังสือพิมพ์เริ่มเปิดประเด็น พ.ต.ท.ทักษิณพูดผ่านรายการสถานีสนามเป้าว่า อาจจะเว้นวรรคการเมือง
วันที่ 13 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณใช้เวลาระหว่างอยู่ที่อังกฤษ เขียนจดหมายจากต่างประเทศถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย และประชาชน ขณะที่เทปสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มออกอากาศทางช่อง 5 เป็นตอนแรก
ในวันเดียวกันนี้ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกให้สัมภาษณ์ว่า ทหารไม่คิดปฏิวัติ กระแสที่ออกมาเป็นการปล่อยข่าวเพื่อกันไม่ให้ทหารปฏิวัติมากกว่า
ถัดมา วันที่ 14 กันยายน เครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรมชุมนุมภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกดดันให้พ.ต.ท.ทักษิณยุติบทบาททางการเมือง
พล.ท.พลางกูร กล้าหาญ โฆษกกองทัพบกแถลงยืนยันว่า ทหารไม่คิดปฏิวัติ ขณะที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลประกาศว่าจะชุมนุมใหญ่ในวันที่ 22 กันยายนเพื่อกดดันไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ
วันที่ 15 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์นักข่าวระหว่างเดิทางไปประชุมกลุ่มนามที่ประเทศคิวบาว่า อาจจะเว้นวรรคทางการเมือง โดยอาจจะประกาศในวันรับสมัครเลือกตั้ง สอดคล้องกับเทปรายการที่ออกอากาศทางช่อง 5 ว่าด้วยเรื่อง อาจเว้นวรรคพอดิบพอดี
พ.ต.ท.ทักษิณยังพูดเลยไปด้วยว่า เขานั้นเปรียบเหมือนพล.อ.เปรม ที่เคยถูกประชาชนขับไล่เมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ทำให้ทหารคนสนิทพล.อ.เปรม และหลายฝ่ายไม่พอใจ
ในวันเดียวกันนี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีมติชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนเป็นต้นไปเพื่อกดดันไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ
จะเรียกฝันร้ายในคิวบา ของ พ.ต.ท.ทักษิณก็คงไม่ผิดนัด วันรุ่งขึ้น16 กันยา เกิดเหตุระเบิดขึ้นในย่านการค้าและ ชุมชนอำเภอหาดใหญ่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บอีกหลายสิบ
ไม่เพียงเท่านั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงยืนยันจัดชุมนุม ยืดเยื้อวันที่ 20 กันยายน ขณะที่อีกฝ่ายเริ่มมีการเกณฑ์ประชาชนในอีสานหลายหมื่นคนเพื่อจุดหมายให้เผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรประชาชน
วันที่ 17 กันยายน สนธิ ลิ้มทองกุลแถลงยืนยันมติไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทย ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณเขียนจดหมายถึงประชาชนฉบับที่ 2 พ.ต.ท.ทักษิณ บอกกับนักข่าวว่าได้สั่งการให้ ผบ.ทบ. และ ผบ.ตร.ให้ลงไปดูแลแก้ไขปัญหาภาคใต้แล้ว
รุ่งขึ้นวันที่ 18 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ออกทางสีหน้า ระหว่างเดินทางจากคิวบามาแวะพักที่แคนคูน เม็กซิโก ก่อนจะต่อไปยังนิวยอร์ค
และวาระสุดท้ายในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 สมัยที่ 2 ก็มาถึง
ในวันที่19 กันยายน เช้าวันนั้นเวลา 09.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยใช้ web camera จากห้องพักที่โรงแรม Grand Hyatt นิวยอร์กมายังห้องประชุมครม.
พ.ต.ท.ทักษิณอาจไม่ทันได้สังเกตุว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่จะต้องมาร่วมประชุมครม.นัดพิเศษเพื่อรับทราบแนวทางแก้ปัญหาภาคใต้พากันหายหน้าไปหมด ส่งเพียงตัวแทนเข้ามาร่วม
กระทั่งค่ำวันนั้นตามเวลาในไทยหรือตอนสายๆวันที่ 18 ที่นิวยอร์ค พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเริ่มรู้ข่าวว่า ถูกคณะนายทหารก่อรัฐประหาร
พ.ต.ท.ทักษิณออกแถลงการณ์ตัดหน้าประกาศคณะปฏิวัติ แต่ทุกอย่างก็สายไปหมดแล้ว และสายไปเสียทุกอย่าง แม้กระทั่งจะเดินทางจากนิวยอร์ค ไปพำนักที่อังกฤษ ก็ยังต้องใช้เวลานานนับวัน
คำต่อคำ:พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
พล.อ.สนธิ : กองทัพปฏิบัติภารกิจในสิ่งที่ประชาชนต้องการ
หมายเหตุ - พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เชิญสื่อมวลชนเข้าพบเพื่อชี้แจงเหตุผลในการทำรัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ห้องประชุมกิตติขจร กองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก
"สถานการณ์ปัญหาภายในประเทศเป็นตัวกำหนด หากไม่ทำตอนนี้ ปัญหาจะขยายตัว และน่าจะมีปัญหามากกว่า จึงทำ (รัฐประหาร)"
ผู้สื่อข่าวคงติดตามสถานการณ์ในประเทศ การเรียกร้องของประชาชน และข้อเท็จจริงในการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมา คำตอบมีอยู่ชัดเจน กองทัพ เป็นส่วนหนึ่งของประชาชน การปฏิบัติภารกิจในสิ่งที่ประชาชนต้องการ โดยได้รับการสนองตอบเป็นหน้าที่ของรัฐต้องทำ
เหตุผลในการปฏิรูป และสิ่งที่วัดว่าเหตุใดจึงควรปฏิรูป
มีหลายตัวชี้วัด เช่น สื่อต่างๆ ว่าต้องการอะไรและหนักใจอะไร และประชาชนก็แบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ มันเป็นจุดบ่งบอก
คณะผู้ปฏิรูปฯ จะอยู่นานเท่าไร ใครจะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีจะเน้นงานด้านใด จะเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติหรือไม่
ภาระหน้าที่ตรงนี้ของคณะปฏิรูปฯ จะทำงาน 2 สัปดาห์ ส่วนตัวนายกรัฐมนตรีคนใหม่กำลังคัดเลือก แต่ต้องเป็นคนกลาง และรักประชาธิปไตย
ใครอยู่เบื้องหลังการปฏิรูปครั้งนี้ เพราะ ผบ.ทบ.เคยบอกว่าทหารจะไม่ปฏิวัติ
สิ่งที่ตัดสินใจนั้นสถานการณ์เป็นตัวกำหนด ไม่มีใครชี้นำ และดูเสียงจากประชาชน
แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปฯ บอกว่ารัฐบาลทำงานส่อไปในทางทุจริต และจะตรวจสอบอย่างไร
เป็นไปตามกฎหมาย ใครทำผิดก็ต้องได้รับความผิดไป ส่วนกรรมการที่จะมาสอบทุจริตเบื้องต้นตอนนี้ยังไม่มี
สาเหตุคาร์บอมบ์ เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปไหม
ไม่เกี่ยว
จะยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ และกิจการของชินคอร์ป กลับคืนมาจากเทมาเส็ก สิงคโปร์หรือไม่
ตอนนี้ยังไม่มีการดำเนินการ
มีกระแสข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น
เป็นเรื่องของอนาคต
คณะปฏิรูปฯ จะเข้ามาปฏิรูป แล้วยึดอำนาจเหมือนกรณี รสช.หรือไม่
ทำงาน 2 สัปดาห์ก็จะถอน
คณะปฏิรูปเข้ามาทำงานแล้วเรื่องใต้จะสงบไหม
คนละประเด็น เพราะภาคใต้กองทัพภาคที่ 4 รับไปแก้ไข และจะใช้แนวทางเดิม หากตอนนั้น 30 กองร้อยทหารพรานได้รับการอนุมัติ คงไม่มีปัญหา
2 สัปดาห์นี้จะร่างรัฐธรรมนูญปกครองชั่วคราว เพื่อให้มีรัฐบาลชุดใหม่ และรัฐบาลชุดใหม่จะทำงานนานเท่าไร
การร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้เร็วที่สุดภายใน 2 สัปดาห์ พร้อมกับสรรหานายกฯ คนใหม่ และนายกฯ คนใหม่จะเข้ามาทำงาน และปฏิรูปใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี คณะปฏิรูปจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีคนใหม่เลือก ครม.ด้วยตนเองหรือไม่
ขึ้นอยู่กับนายกฯ กองทัพไม่เกี่ยว
นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะเป็นพลเรือน
กำลังพิจารณา
สิ่งใดดลใจให้มาเป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ
ผมเป็น ผบ.ทบ.กองกำลังส่วนใหญ่ก็เป็น ทบ.
ใครจะเป็นคนร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว
กำลังสรรหาผู้มีความรู้โดยเฉพาะมาทำหน้าที่
ผู้สื่อข่าวจากประเทศอังกฤษถามว่า มี 2 ข้อถาม คือ 1.การดำเนินการครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากในหลวงหรือไม่ 2.การกระทำครั้งนี้ประเทศไทยเกิดผลลบ เพราะคณะปฏิรูปฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งต่างกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มาจากการเลือกตั้งแม้ไม่ได้รับความนิยม
ข้อ 1.ไม่มีใครสนับสนุน ตัดสินใจและดูแลด้วยตัวเอง
ข้อ 2.สถานการณ์ปัญหาภายในประเทศเป็นตัวกำหนด หากไม่ทำตอนนี้ ปัญหาจะขยายตัว และน่าจะมีปัญหามากกว่า จึงทำ(รัฐประหาร)
ตอนนี้มีกระแสข่าวว่า คณะปฏิรูปฯ จับกุม พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ แล้ว
ไม่ได้จับกุม แต่เชิญตัวมา ตอนนี้ พล.ต.อ.ชิดชัย ก็อยู่ในกรุงเทพฯ
แสดงว่า พล.ต.อ.ชิดชัย ยินดี และพอใจที่อยู่ในการดูแล
น่าจะเป็นเช่นนั้น
จากนี้ไปคณะปฏิรูปฯ จะมีนโยบายดำเนินการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างไร และจะมีการเลือกตั้งเมื่อใด
ข้อ 1.พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นคนไทยด้วยกัน คงไม่มีปัญหาอะไร เราเหมือนเป็นพี่น้องกัน
ข้อ 2. การร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว จะใช้เวลา 2 อาทิตย์ จากนั้นก็เลือกคณะรัฐมนตรี เพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญ โดยใช้เวลา 1 ปี
นโยบายต่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ โดยเฉพาะการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ
ไม่เปลี่ยนแปลง
การร่างรัฐธรรมนูญ ที่ใช้เวลา 1 ปี หากทำเสร็จแล้วจะส่งให้ประชาชนแสดงความเห็น ทำประชาพิจารณ์ ในเดือนตุลาคม 2550 เลยใช่ไหม
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. ตอบว่า ตอนนี้คณะปฏิรูปฯ จะร่างรัฐธรรมนูญเพื่อตั้งคณะรัฐมนตรี จากนั้นค่อยไปแก้ไขรัฐธรรมนูญในจุดที่บกพร่อง
พล.อ.สนธิ พูดเองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นคนไทย หากกลับมาในประเทศ จะดำเนินการทางคดีอย่างไร หรือจะปล่อยให้หลบหนีไปต่างประเทศ
เป็นไปตามกฎหมาย และข้อมูลหลักฐาน ปกติแล้วต้องมีโจทย์
จะยึดทรัพย์เหมือนที่คณะ รสช.ยึดทรัพย์รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หรือไม่ หรือจะปล่อยให้ขบวนการอยู่ในชั้นศาล
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร. ตอบว่า การแจ้งความคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มีอยู่เยอะแล้ว ต้องว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม
การเปิดสนามบินสุวรรณภูมิจะเป็นอย่างไร
พล.อ.สนธิ ตอบว่า เป็นไปตามกำหนดการเดิม
จะสนับสนุนนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ต่อไปหรือไม่
แจ้งไปยังทูตในอเมริกาแล้ว ว่ายังสนับสนุน
ตอนนี้รัฐมนตรีหลายคนอยู่ที่ไหน และจะดำเนินการอย่างไร
คณะรัฐมนตรี นั้น ก็ยังประสานอยู่ ยังไม่ได้ทำอะไร
หลักการปฏิวัติรัฐประหาร เศรษฐกิจมักตกต่ำ จะชี้แจงนานาชาติอย่างไร
นโยบายต่างประเทศไม่เปลี่ยนแปลง
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ จะยุบด้วยหรือไม่
องค์กรอิสระก็ต้องยุบไปตามรัฐธรรมนูญ และว่าที่ กกต.ชุดนี้ก็เช่นกัน
เมื่อคืนนี้คณะปฏิรูปฯ เข้าเฝ้าในหลวง พระองค์รับสั่งว่าอย่างไร และจะเปิดแพร่ภาพเทปการเข้าเฝ้าฯ หรือไม่
ได้ไปกราบบังคมทูลถึงสถานการณ์
ตัดสินใจครั้งสุดท้ายเมื่อใดในการปฏิรูป
เมื่อ 2 วันที่แล้ว
จะดำเนินการกับรัฐมนตรีที่อยู่ต่างประเทศอย่างไร
ได้รับการประสานว่าจะเข้ามาในประเทศ ยืนยันไม่เป็นอุปสรรคในการเข้าประเทศ
วันหยุดราชการจะยุติเมื่อใด และกฎอัยการศึกที่ประกาศบังคับใช้ทั่วประเทศ จะยุติเมื่อใด
พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล เลขาธิการ สมช.ในฐานะเลขาธิการคณะปฏิรูปฯ ตอบว่า การหยุดราชการ หยุดวันนี้วันเดียว พรุ่งนี้ก็ทำงานตามปกติ ส่วนกฎอัยการศึกนั้น หากสถานการณ์เข้าสู่สภาวะเรียบร้อยก็ยกเลิก
สถานการณ์การเมืองขณะนี้จะกลับไปสู่ยุคเก่าหรือไม่
พล.อ.สนธิ ไม่ได้ตอบคำถามใด
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า คณะปฏิรูปฯ ส่วนใหญ่เป็นเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 6 จะไม่มองว่าเป็นการเล่นพวกเหมือนกับที่กล่าวหารัฐบาล
พล.อ.สนธิ เลี่ยงที่จะตอบคำถามโดยมีสีหน้าไม่ค่อยสู้ดีนัก
การจับกุมตัวคณะบุคคลสำคัญในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ มีใครบ้าง
พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.ทหารสูงสุด ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปฯ ตอบว่า มี พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เพียงคนเดียว
มีการจับตัว นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม สามี นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แกนนำวังบัวบานด้วยหรือไม่
พล.อ.เรืองโรจน์ กล่าวว่า ไม่รู้
หมายเหตุ - พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เชิญสื่อมวลชนเข้าพบเพื่อชี้แจงเหตุผลในการทำรัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ห้องประชุมกิตติขจร กองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก
"สถานการณ์ปัญหาภายในประเทศเป็นตัวกำหนด หากไม่ทำตอนนี้ ปัญหาจะขยายตัว และน่าจะมีปัญหามากกว่า จึงทำ (รัฐประหาร)"
ผู้สื่อข่าวคงติดตามสถานการณ์ในประเทศ การเรียกร้องของประชาชน และข้อเท็จจริงในการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมา คำตอบมีอยู่ชัดเจน กองทัพ เป็นส่วนหนึ่งของประชาชน การปฏิบัติภารกิจในสิ่งที่ประชาชนต้องการ โดยได้รับการสนองตอบเป็นหน้าที่ของรัฐต้องทำ
เหตุผลในการปฏิรูป และสิ่งที่วัดว่าเหตุใดจึงควรปฏิรูป
มีหลายตัวชี้วัด เช่น สื่อต่างๆ ว่าต้องการอะไรและหนักใจอะไร และประชาชนก็แบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ มันเป็นจุดบ่งบอก
คณะผู้ปฏิรูปฯ จะอยู่นานเท่าไร ใครจะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีจะเน้นงานด้านใด จะเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติหรือไม่
ภาระหน้าที่ตรงนี้ของคณะปฏิรูปฯ จะทำงาน 2 สัปดาห์ ส่วนตัวนายกรัฐมนตรีคนใหม่กำลังคัดเลือก แต่ต้องเป็นคนกลาง และรักประชาธิปไตย
ใครอยู่เบื้องหลังการปฏิรูปครั้งนี้ เพราะ ผบ.ทบ.เคยบอกว่าทหารจะไม่ปฏิวัติ
สิ่งที่ตัดสินใจนั้นสถานการณ์เป็นตัวกำหนด ไม่มีใครชี้นำ และดูเสียงจากประชาชน
แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปฯ บอกว่ารัฐบาลทำงานส่อไปในทางทุจริต และจะตรวจสอบอย่างไร
เป็นไปตามกฎหมาย ใครทำผิดก็ต้องได้รับความผิดไป ส่วนกรรมการที่จะมาสอบทุจริตเบื้องต้นตอนนี้ยังไม่มี
สาเหตุคาร์บอมบ์ เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปไหม
ไม่เกี่ยว
จะยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ และกิจการของชินคอร์ป กลับคืนมาจากเทมาเส็ก สิงคโปร์หรือไม่
ตอนนี้ยังไม่มีการดำเนินการ
มีกระแสข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น
เป็นเรื่องของอนาคต
คณะปฏิรูปฯ จะเข้ามาปฏิรูป แล้วยึดอำนาจเหมือนกรณี รสช.หรือไม่
ทำงาน 2 สัปดาห์ก็จะถอน
คณะปฏิรูปเข้ามาทำงานแล้วเรื่องใต้จะสงบไหม
คนละประเด็น เพราะภาคใต้กองทัพภาคที่ 4 รับไปแก้ไข และจะใช้แนวทางเดิม หากตอนนั้น 30 กองร้อยทหารพรานได้รับการอนุมัติ คงไม่มีปัญหา
2 สัปดาห์นี้จะร่างรัฐธรรมนูญปกครองชั่วคราว เพื่อให้มีรัฐบาลชุดใหม่ และรัฐบาลชุดใหม่จะทำงานนานเท่าไร
การร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้เร็วที่สุดภายใน 2 สัปดาห์ พร้อมกับสรรหานายกฯ คนใหม่ และนายกฯ คนใหม่จะเข้ามาทำงาน และปฏิรูปใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี คณะปฏิรูปจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีคนใหม่เลือก ครม.ด้วยตนเองหรือไม่
ขึ้นอยู่กับนายกฯ กองทัพไม่เกี่ยว
นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะเป็นพลเรือน
กำลังพิจารณา
สิ่งใดดลใจให้มาเป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ
ผมเป็น ผบ.ทบ.กองกำลังส่วนใหญ่ก็เป็น ทบ.
ใครจะเป็นคนร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว
กำลังสรรหาผู้มีความรู้โดยเฉพาะมาทำหน้าที่
ผู้สื่อข่าวจากประเทศอังกฤษถามว่า มี 2 ข้อถาม คือ 1.การดำเนินการครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากในหลวงหรือไม่ 2.การกระทำครั้งนี้ประเทศไทยเกิดผลลบ เพราะคณะปฏิรูปฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งต่างกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มาจากการเลือกตั้งแม้ไม่ได้รับความนิยม
ข้อ 1.ไม่มีใครสนับสนุน ตัดสินใจและดูแลด้วยตัวเอง
ข้อ 2.สถานการณ์ปัญหาภายในประเทศเป็นตัวกำหนด หากไม่ทำตอนนี้ ปัญหาจะขยายตัว และน่าจะมีปัญหามากกว่า จึงทำ(รัฐประหาร)
ตอนนี้มีกระแสข่าวว่า คณะปฏิรูปฯ จับกุม พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ แล้ว
ไม่ได้จับกุม แต่เชิญตัวมา ตอนนี้ พล.ต.อ.ชิดชัย ก็อยู่ในกรุงเทพฯ
แสดงว่า พล.ต.อ.ชิดชัย ยินดี และพอใจที่อยู่ในการดูแล
น่าจะเป็นเช่นนั้น
จากนี้ไปคณะปฏิรูปฯ จะมีนโยบายดำเนินการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างไร และจะมีการเลือกตั้งเมื่อใด
ข้อ 1.พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นคนไทยด้วยกัน คงไม่มีปัญหาอะไร เราเหมือนเป็นพี่น้องกัน
ข้อ 2. การร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว จะใช้เวลา 2 อาทิตย์ จากนั้นก็เลือกคณะรัฐมนตรี เพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญ โดยใช้เวลา 1 ปี
นโยบายต่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ โดยเฉพาะการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ
ไม่เปลี่ยนแปลง
การร่างรัฐธรรมนูญ ที่ใช้เวลา 1 ปี หากทำเสร็จแล้วจะส่งให้ประชาชนแสดงความเห็น ทำประชาพิจารณ์ ในเดือนตุลาคม 2550 เลยใช่ไหม
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. ตอบว่า ตอนนี้คณะปฏิรูปฯ จะร่างรัฐธรรมนูญเพื่อตั้งคณะรัฐมนตรี จากนั้นค่อยไปแก้ไขรัฐธรรมนูญในจุดที่บกพร่อง
พล.อ.สนธิ พูดเองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นคนไทย หากกลับมาในประเทศ จะดำเนินการทางคดีอย่างไร หรือจะปล่อยให้หลบหนีไปต่างประเทศ
เป็นไปตามกฎหมาย และข้อมูลหลักฐาน ปกติแล้วต้องมีโจทย์
จะยึดทรัพย์เหมือนที่คณะ รสช.ยึดทรัพย์รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หรือไม่ หรือจะปล่อยให้ขบวนการอยู่ในชั้นศาล
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร. ตอบว่า การแจ้งความคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มีอยู่เยอะแล้ว ต้องว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม
การเปิดสนามบินสุวรรณภูมิจะเป็นอย่างไร
พล.อ.สนธิ ตอบว่า เป็นไปตามกำหนดการเดิม
จะสนับสนุนนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ต่อไปหรือไม่
แจ้งไปยังทูตในอเมริกาแล้ว ว่ายังสนับสนุน
ตอนนี้รัฐมนตรีหลายคนอยู่ที่ไหน และจะดำเนินการอย่างไร
คณะรัฐมนตรี นั้น ก็ยังประสานอยู่ ยังไม่ได้ทำอะไร
หลักการปฏิวัติรัฐประหาร เศรษฐกิจมักตกต่ำ จะชี้แจงนานาชาติอย่างไร
นโยบายต่างประเทศไม่เปลี่ยนแปลง
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ จะยุบด้วยหรือไม่
องค์กรอิสระก็ต้องยุบไปตามรัฐธรรมนูญ และว่าที่ กกต.ชุดนี้ก็เช่นกัน
เมื่อคืนนี้คณะปฏิรูปฯ เข้าเฝ้าในหลวง พระองค์รับสั่งว่าอย่างไร และจะเปิดแพร่ภาพเทปการเข้าเฝ้าฯ หรือไม่
ได้ไปกราบบังคมทูลถึงสถานการณ์
ตัดสินใจครั้งสุดท้ายเมื่อใดในการปฏิรูป
เมื่อ 2 วันที่แล้ว
จะดำเนินการกับรัฐมนตรีที่อยู่ต่างประเทศอย่างไร
ได้รับการประสานว่าจะเข้ามาในประเทศ ยืนยันไม่เป็นอุปสรรคในการเข้าประเทศ
วันหยุดราชการจะยุติเมื่อใด และกฎอัยการศึกที่ประกาศบังคับใช้ทั่วประเทศ จะยุติเมื่อใด
พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล เลขาธิการ สมช.ในฐานะเลขาธิการคณะปฏิรูปฯ ตอบว่า การหยุดราชการ หยุดวันนี้วันเดียว พรุ่งนี้ก็ทำงานตามปกติ ส่วนกฎอัยการศึกนั้น หากสถานการณ์เข้าสู่สภาวะเรียบร้อยก็ยกเลิก
สถานการณ์การเมืองขณะนี้จะกลับไปสู่ยุคเก่าหรือไม่
พล.อ.สนธิ ไม่ได้ตอบคำถามใด
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า คณะปฏิรูปฯ ส่วนใหญ่เป็นเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 6 จะไม่มองว่าเป็นการเล่นพวกเหมือนกับที่กล่าวหารัฐบาล
พล.อ.สนธิ เลี่ยงที่จะตอบคำถามโดยมีสีหน้าไม่ค่อยสู้ดีนัก
การจับกุมตัวคณะบุคคลสำคัญในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ มีใครบ้าง
พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.ทหารสูงสุด ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปฯ ตอบว่า มี พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เพียงคนเดียว
มีการจับตัว นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม สามี นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แกนนำวังบัวบานด้วยหรือไม่
พล.อ.เรืองโรจน์ กล่าวว่า ไม่รู้
Wednesday, September 20, 2006
คำสั่งคณะปฏิรูปฯ (1-20)
ที่มา http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?Newsid=102183&NewsType=1&Template=1
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 1
เรื่อง ให้ข้าราชการมารายงานตัว
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 1 เรื่อง ให้ข้าราชการมารายงานตัว ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จึงให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง อธิบดีทุกกรม หัวหน้าหน่วยงานระดับกรม หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมตลอดทั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัย ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง ไปรายงานตัวต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ในวันที่ 20 กันยายน 2549 เวลา 09.00 น. สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน 2549 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 2
เรื่องให้วันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นวันหยุดราชการ
เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด หน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงสั่งให้วันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นวันหยุดราชการ และวันหยุดธนาคาร โดยให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หยุดทำการในวันดังกล่าวด้วย
สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ฉบับที่ 3
เรื่อง มอบอำนาจการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่กองทัพภาค
เพื่อให้การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่กองทัพภาคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งให้แม่ทัพภาค 1 แม่ทัพภาค 2 แม่ทัพภาค 3 และแม่ทัพภาค 4 เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่แต่ละกองทัพภาค มีอำนาจในการระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยเขตพื้นที่แต่ละกองทัพภาค โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนปฏิบัติตามการสั่งการของแม่ทัพภาค ผู้ใดหลีกเลี่ยง ขัดขืนจะต้องได้รับโทษอย่างร้ายแรง
และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัย รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแต่ละเขตพื้นที่กองทัพภาค ไปรายงานตัวต่อแม่ทัพภาค ณ กองบัญชาการแต่ละกองทัพภาค ในวันที่ 20 ก.ย.2549 เวลา 09.00 น. ทั้งนี้ ยกเว้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ให้ไปรายงานต่อหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ณ กองบัญชาการกองทัพบกตามที่ได้สั่งการไปแล้ว
สั่ง ณ วันที่ 20 ก.ย. 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
คำสั่งคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 4/2549
เรื่องเชิญคณะทูตานุทูตมารับฟังคำชี้แจง
ตามที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้ว เพื่อเป็นการทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ภายในประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแกรัฐบาลของนานาประเทศ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงให้กระทรวงการต่างประเทศ ประสานและเชิญคณะผู้แทนทางการทูตของสถานเอกอัครราชทูต สถานอัครราชทูต สถานกงสุล และสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารของต่างประเทศ ประจำประเทศไทย เข้ารับฟังคำชี้แจงจากคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เวลา 13.30 น. ณ หอประชุมกิตติขจร ภายในกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก และจัดล่ามภาษาไทย-อังกฤษ แปลในระหว่างการชี้แจงด้วย พร้อมกันนี้ขอให้ส่งรายชื่อคณะผู้แทนทางการทูตที่จะเข้ารับฟังคำชี้แจงดังกล่าวให้แก่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายในเวลา 11.00 น.
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 5/2549
เรื่อง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจปกครองแล้วนั้น จึงให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการควบคุมยับยั้งสกัดกั้น และทำลายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศ ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารทั้งหมด ที่มีบทความ ข้อความ คำพูดอื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฎิรูป การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศในเบื้องต้นแล้ว
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อพลเอกสนธิ บุญรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 6/2549
เรื่อง ตรวจสอบท่าทีของผู้นำนานาประเทศ
ตามที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้วนั้น เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ถูกต้อง และเกิดประโยชน์ต่อการตกลงใจในการดำเนินการด้านความสัมพันธ์ระห่างประเทศ จึงให้กระทรวงการต่างประเทศ แจ้งเอกอัครราชทูตที่ประจำ ณ ต่างประเทศทุกแห่ง ให้ดำเนินการตรวจสอบท่าทีของผู้นำนานาประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งการเสนอข่าวของสื่อมวลชนในต่างประเทศ ต่อกรณีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย และรายงานให้กองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทราบโดยทันที และต่อเนื่อง
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 7/2549
เรื่องการจัดส่วนงานและการแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อให้การบริหารงานของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ จึงให้ดำเนินการจัดส่วนงานหน้าที่และการแบ่งมอบการรับผิดชอบดังนี้ 1. การจัดส่วนงานกองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย 4 ส่วนงานคือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สำนักเลขาธิการ คณะที่ปรึกษากิจการพิเศษ 2.การแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีหน้าที่ดังนี้ 1. บริหาราชการแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนและให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกำหนด 2. อำนวยการควบคุมกำกับดูแลบริหารงานของกระทรวง ทบวง กรม ความรับผิดชอบให้สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด สำนักเลขาธิการ มีเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดรับผิดชอบงานธุรการและกลั่นกรองบรรดาแถลงการณ์ คำสั่ง หรือประกาศ หรือเอกสารอื่นใดที่ประกาศให้ทราบทั่วไป ก่อนนำเสนอหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะที่ปรึกษามีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในนโยบายความมั่นคงด้านต่างๆ ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ร้องขอหรือที่ริเริ่มขึ้นเอง ฝ่ายกิจการพิเศษมีเลขาธิการฝ่ายกิจการพิเศษเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีหน้าที่อำนวยการ ประสานงานให้เป็นไปตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขขอปฏิเสธข่าวลือการประกาศห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานในเวลากลางคืน หรือการประกาศเคอร์ฟิว ว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดและขอให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามปกติ จึงขอประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
คณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 9/2549
เรื่อง ให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัว
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ของคณะปฏิรูปฯ จึงให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัวต่อคณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ในวันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 12.00น.
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 11/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการมาปฎิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 11(4) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 เรื่องอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน จึงมีคำสั่งให้
1.พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ นักบริหาร 11
2.พล.ต.ต.พีระพันธ์ เปรมภูติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นักบริหาร 11
3.พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
4.พล.ต.ท.ชลอ ชูวงษ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีโดยให้ได้รับเงินเดือนตามสังกัดเดิมไปพลางก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ขณะเดียวกันให้พลโทไวพจน์ ศรีนวล ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม ไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และให้รับเงินเดือนจากต้นสังกัดเดิมไปพลางก่อน
สั่ง ณ วันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 12/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการมาปฎิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 11(4) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 เรื่องอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน
จึงมีคำสั่งให้ พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และให้รับเงินเดือนตามสังกัดเดิมไปพลางก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 13/2549
เรื่องให้ข้าราชการรักษาราชการแทน
ด้วยได้มีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ 11/2549 เรื่องให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยสั่งให้พลตำรวจตรีพีรพันธุ์ เปรมภูติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นักบริหาร 11 มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2549 เป็นต้นไป เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 เรื่องอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน จึงมีคำสั่งให้นายรองพล เจริญพันธุ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี นักบริหาร 11 รักษาราชการแทนปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอีกหน้าที่หนึ่ง ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 23 กันยายน 2549
พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 15/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานสำหรับการรณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
เพื่อให้การดำเนินการรณรงค์ให้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ผู้สมัครในนามประเทศไทย และอาเซียน ในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ มีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสำเร็จ จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะทำงาน สำหรับการณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ
1.1 รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ประธานคณะทำงาน
1.2 เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทย ประจำสหประชาชาติ คณะทำงาน
1.3 อธิบดี กรมองค์การระหว่างประเทศ คณะทำงาน
1.4 รองอธิบดี กรมองค์การระหว่างประเทศ นางบุศยา มาทแล็ง คณะทำงาน
1.5 รองอธิบดี กรมสารนิเทศ นายพิริยะ เข็มพล คณะทำงาน
1.6 นายเสข วรรณเมธี เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน
1.7 นายภควัต ตันสกุล เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน
1.8 ผู้อำนวยการกองงานบริหารองค์การระหว่างประเทศ คณะทำงาน และเลขานุการ
1.9 นายธีรวัฒน์ ภูมิจิตร เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.10 นายจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.11 นายสุริยา จินดาวงศ์ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.12 นายโวสิต วรทรัพย์ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.13 นางศรีพันธ์ จันทรัคคะ เจ้าหน้าที่ธุรการ 5 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
2.1 พิจารณากำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินการ แผนการณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ รวมทั้งท่าทีของไทยในการรณรงค์
2.2 พิจารณากำหนดแผนงานด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการณรงค์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
2.3 พิจารณาเสนองบประมาณเพื่อการณรงค์และการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
2.4 ดำเนินการรณรงค์โดยประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มงาน เพื่อสนับสนุนคณะทำงาน เพื่อการณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ของกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
2.5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจในการพิจารณาเห็นชอบแผนการเดินทางของผู้สมัคร และคณะ สำหรับการรณรงค์หาเสียง
2.6 แต่งตั้งบุคคล หรือคณะทำงานเฉพาะกิจ สำหรับการรณรงค์หาเสียง
2.7 มีสำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ พลขับ และอุปกรณ์การสื่อสาร อันสมควรตามความจำเป็นแก่การณรงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานการจัดหา
2.8 ปฏิบัติการอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ให้ดำเนินการใช้งบประมาณตามความเหมาะสมจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 -2550 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น ให้เบิกจ่ายที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการ ให้หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 25 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อ
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 16/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. มีคำสั่งที่ 16/2549 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อให้การเปิดใช้ ในวันที่ 28 ก.ย.นี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานกรรมการ
2. พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชการทหารสูงสุด เป็นรองประธานกรรมการ
3. พล.ต.อ.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ
4. นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เป็นกรรมการ
5. ร.อ.ท.อภินันท์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการ
6. นายกอบชัย ศรีวิลาศ เป็นกรรมการ
7. นายสมชัย สวัสดิผล เป็นกรรมการ
8. นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ และเลขานุการ
9. เจ้าหน้าที่ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
10. เจ้าหน้าที่ที่เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
1. กำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2549 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. ประสานและติดตามการดำเนินการของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือคำสั่งอื่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงาน อื่นของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3. รับและพิจารณาข้อเสนอแนะจากสายการบิน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4. สั่งการและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
5. เสนอแนะการกราบบังคมทูลพระกรุณาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการ
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือบุคคล และมอบหมายให้ดำเนินการเรื่องใดๆ แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
7. ดำเนินการอื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ให้คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือคำสั่งอื่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามการสั่งการ การประสาน และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการโดยเร็ว ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 25 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 17/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 17/2549 เรื่องแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา โดยที่ได้มีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 7/2549 เรื่องการจัดส่วนงานและการแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารงานของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน จึงแต่งตั้งบุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้ ประกอบกันเป็นคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งดังกล่าว ดังต่อไปนี้
คณะที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ
1.ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นประธานที่ปรึกษา 2.นายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นที่ปรึกษา3.นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นที่ปรึกษา 4.นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เป็นที่ปรึกษา5.คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เป็นที่ปรึกษา 6.นายไชย ไชยวรรณ เป็นที่ปรึกษา 7.นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นที่ปรึกษา 8.ศ.เทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา9.ศ.ปราณี ทินกร เป็นที่ปรึกษา 10.นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา 11.ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา 12.ศ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เป็นที่ปรึกษา 13.รศ.วรพล โสคติยานุรักษ์ เป็นที่ปรึกษา14.นายวิรไท สันติประภพ เป็นที่ปรึกษา 15. นายสันติ วิลาสศักดานนท์ เป็นที่ปรึกษา 16.นายศิวะพร ทรรทรานนท์ เป็นที่ปรึกษา 17.นายอาชว์ เตาลานนท์ เป็นที่ปรึกษา 18.ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา 19. น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช เป็นที่ปรึกษา
คณะที่ปรึกษาฝ่ายการต่างประเทศ
1.นายวิทยา เวชชาชีวะ เป็นประธานที่ปรึกษา2.นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เป็นที่ปรึกษา 3.นายกำธร อุดมฤทธิรุจน์ เป็นที่ปรึกษา 4.นายเตช บุนนาค เป็นที่ปรึกษา 5.นายนิตย์ พิบูลสงคราม เป็นที่ปรึกษา 6.นายพิศาล มาณวพัฒน์ เป็นที่ปรึกษา 7.นายวิทย์ รายนานนท์ เป็นที่ปรึกษา 8.นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช เป็นที่ปรึกษา
คณะที่ปรึกษาด้านการเสริมสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
1.รศ.จุรี วิจิตรวาทการ เป็นประธานที่ปรึกษา 2.รศ.กำชัย จงจักรพันธุ์ เป็นที่ปรึกษา 3.รศ.จรัล เล็งวิทยา เป็นที่ปรึกษา 4.นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ เป็นที่ปรึกษา 5.รศ.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เป็นที่ปรึกษา 6.ผศ.ธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย เป็นที่ปรึกษา 7.รศ.บุญสม ศิริบำรุงสุข เป็นที่ปรึกษา 8.รศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา 9.รศ.พงษศักดิ์ อังกะสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษา 10.รศ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา 11.รศ.ลาวัลย์ หอนพรัตน์ เป็นที่ปรึกษา 12.ศ.วันชัย ศิริชนะ เป็นที่ปรึกษา 13.ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นที่ปรึกษา
คณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม
1.นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานที่ปรึกษา 2.นายโคทม อารียา เป็นที่ปรึกษา 3.รศ.จรัส สุวรรณมาลา เป็นที่ปรึกษา 4.นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นที่ปรึกษา 5.นางเตือนใจ ดีเทศน์ เป็นที่ปรึกษา 6.ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล เป็นที่ปรึกษา 7.รศ.ธีรภัทร เสรีรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา 8.รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นที่ปรึกษา 9.รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นที่ปรึกษา 10.ศ.พรชัย มาตังคสมบัติ เป็นที่ปรึกษา 11.นายพิภพ ธงไชย เป็นที่ปรึกษา 12.ภราดาประทีป โกมลมาศ เป็นที่ปรึกษา 13.นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เป็นที่ปรึกษา 14.นายประยงค์ รณรงค์ เป็นที่ปรึกษา 15.นายวรวิทย์ บารู เป็นที่ปรึกษา 16.นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เป็นที่ปรึกษา 17.รศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นที่ปรึกษา 18.ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นที่ปรึกษา 19.ศ.วันชัย วัฒนศัพท์ เป็นที่ปรึกษา 20.รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม เป็นที่ปรึกษา 21.ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา 22.รศ.สุริชัย หวันแก้ว เป็นที่ปรึกษา 23.ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นที่ปรึกษา 24.คุณหญิงแสงดาว สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา 25.นายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นที่ปรึกษา 26.รศ.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ เป็นที่ปรึกษา
ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอคำแนะนำแก่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขร้องขอ หรือตามที่คณะที่ปรึกษาเห็นสมควร
ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ ประชุมพิจารณาเรื่องทั้งหลายแยกกัน แต่อาจจัดให้มีการประชุมร่วมกันของคณะที่ปรึกษาทุกคณะหรือบางคณะได้ตามที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ เห็นสมควร
ให้คณะที่ปรึกษาแต่งตั้งที่ปรึกษาคนหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่เลขานุการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้ ให้สำนักเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนวยความสะดวกในการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งนี้
สั่ง ณ วันที่ 26 กันยายน 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ 19/2549
เรื่องแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขคำสั่ง นายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงให้ยกเลิกความในข้อ 5 (1) และ (23) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2548 เรื่องการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและคณะที่ปรึกษาลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประธานกรรมการ
(23) เสนาธิการทหารบก กรรมการและเลขานุการร่วม"
สั่ง ณ วันที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ 20/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการรักษาราชการแทน
ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายถวิล สมัครรัฐกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 10) ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป
เพื่อให้การปฏิบัติราชการในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นไปด้วยความต่อเนื่อง เมื่อตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 10) ว่างลงในเวลาข้างต้น จึงแต่งตั้งให้ นางจุฬารัตน์ บุณยากร รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 9) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 10)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
สั่ง ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 1
เรื่อง ให้ข้าราชการมารายงานตัว
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 1 เรื่อง ให้ข้าราชการมารายงานตัว ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จึงให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง อธิบดีทุกกรม หัวหน้าหน่วยงานระดับกรม หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมตลอดทั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัย ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง ไปรายงานตัวต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ในวันที่ 20 กันยายน 2549 เวลา 09.00 น. สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน 2549 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 2
เรื่องให้วันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นวันหยุดราชการ
เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด หน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงสั่งให้วันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นวันหยุดราชการ และวันหยุดธนาคาร โดยให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หยุดทำการในวันดังกล่าวด้วย
สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ฉบับที่ 3
เรื่อง มอบอำนาจการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่กองทัพภาค
เพื่อให้การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่กองทัพภาคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งให้แม่ทัพภาค 1 แม่ทัพภาค 2 แม่ทัพภาค 3 และแม่ทัพภาค 4 เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่แต่ละกองทัพภาค มีอำนาจในการระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยเขตพื้นที่แต่ละกองทัพภาค โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนปฏิบัติตามการสั่งการของแม่ทัพภาค ผู้ใดหลีกเลี่ยง ขัดขืนจะต้องได้รับโทษอย่างร้ายแรง
และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัย รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแต่ละเขตพื้นที่กองทัพภาค ไปรายงานตัวต่อแม่ทัพภาค ณ กองบัญชาการแต่ละกองทัพภาค ในวันที่ 20 ก.ย.2549 เวลา 09.00 น. ทั้งนี้ ยกเว้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ให้ไปรายงานต่อหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ณ กองบัญชาการกองทัพบกตามที่ได้สั่งการไปแล้ว
สั่ง ณ วันที่ 20 ก.ย. 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
คำสั่งคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 4/2549
เรื่องเชิญคณะทูตานุทูตมารับฟังคำชี้แจง
ตามที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้ว เพื่อเป็นการทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ภายในประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแกรัฐบาลของนานาประเทศ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงให้กระทรวงการต่างประเทศ ประสานและเชิญคณะผู้แทนทางการทูตของสถานเอกอัครราชทูต สถานอัครราชทูต สถานกงสุล และสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารของต่างประเทศ ประจำประเทศไทย เข้ารับฟังคำชี้แจงจากคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เวลา 13.30 น. ณ หอประชุมกิตติขจร ภายในกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก และจัดล่ามภาษาไทย-อังกฤษ แปลในระหว่างการชี้แจงด้วย พร้อมกันนี้ขอให้ส่งรายชื่อคณะผู้แทนทางการทูตที่จะเข้ารับฟังคำชี้แจงดังกล่าวให้แก่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายในเวลา 11.00 น.
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 5/2549
เรื่อง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจปกครองแล้วนั้น จึงให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการควบคุมยับยั้งสกัดกั้น และทำลายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศ ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารทั้งหมด ที่มีบทความ ข้อความ คำพูดอื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฎิรูป การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศในเบื้องต้นแล้ว
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อพลเอกสนธิ บุญรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 6/2549
เรื่อง ตรวจสอบท่าทีของผู้นำนานาประเทศ
ตามที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้วนั้น เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ถูกต้อง และเกิดประโยชน์ต่อการตกลงใจในการดำเนินการด้านความสัมพันธ์ระห่างประเทศ จึงให้กระทรวงการต่างประเทศ แจ้งเอกอัครราชทูตที่ประจำ ณ ต่างประเทศทุกแห่ง ให้ดำเนินการตรวจสอบท่าทีของผู้นำนานาประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งการเสนอข่าวของสื่อมวลชนในต่างประเทศ ต่อกรณีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย และรายงานให้กองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทราบโดยทันที และต่อเนื่อง
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 7/2549
เรื่องการจัดส่วนงานและการแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อให้การบริหารงานของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ จึงให้ดำเนินการจัดส่วนงานหน้าที่และการแบ่งมอบการรับผิดชอบดังนี้ 1. การจัดส่วนงานกองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย 4 ส่วนงานคือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สำนักเลขาธิการ คณะที่ปรึกษากิจการพิเศษ 2.การแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีหน้าที่ดังนี้ 1. บริหาราชการแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนและให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกำหนด 2. อำนวยการควบคุมกำกับดูแลบริหารงานของกระทรวง ทบวง กรม ความรับผิดชอบให้สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด สำนักเลขาธิการ มีเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดรับผิดชอบงานธุรการและกลั่นกรองบรรดาแถลงการณ์ คำสั่ง หรือประกาศ หรือเอกสารอื่นใดที่ประกาศให้ทราบทั่วไป ก่อนนำเสนอหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะที่ปรึกษามีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในนโยบายความมั่นคงด้านต่างๆ ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ร้องขอหรือที่ริเริ่มขึ้นเอง ฝ่ายกิจการพิเศษมีเลขาธิการฝ่ายกิจการพิเศษเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีหน้าที่อำนวยการ ประสานงานให้เป็นไปตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขขอปฏิเสธข่าวลือการประกาศห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานในเวลากลางคืน หรือการประกาศเคอร์ฟิว ว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดและขอให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามปกติ จึงขอประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
คณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 9/2549
เรื่อง ให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัว
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ของคณะปฏิรูปฯ จึงให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัวต่อคณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ในวันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 12.00น.
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 11/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการมาปฎิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 11(4) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 เรื่องอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน จึงมีคำสั่งให้
1.พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ นักบริหาร 11
2.พล.ต.ต.พีระพันธ์ เปรมภูติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นักบริหาร 11
3.พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
4.พล.ต.ท.ชลอ ชูวงษ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีโดยให้ได้รับเงินเดือนตามสังกัดเดิมไปพลางก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ขณะเดียวกันให้พลโทไวพจน์ ศรีนวล ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม ไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และให้รับเงินเดือนจากต้นสังกัดเดิมไปพลางก่อน
สั่ง ณ วันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 12/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการมาปฎิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 11(4) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 เรื่องอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน
จึงมีคำสั่งให้ พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และให้รับเงินเดือนตามสังกัดเดิมไปพลางก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 13/2549
เรื่องให้ข้าราชการรักษาราชการแทน
ด้วยได้มีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ 11/2549 เรื่องให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยสั่งให้พลตำรวจตรีพีรพันธุ์ เปรมภูติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นักบริหาร 11 มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2549 เป็นต้นไป เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 เรื่องอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน จึงมีคำสั่งให้นายรองพล เจริญพันธุ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี นักบริหาร 11 รักษาราชการแทนปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอีกหน้าที่หนึ่ง ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 23 กันยายน 2549
พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 15/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานสำหรับการรณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
เพื่อให้การดำเนินการรณรงค์ให้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ผู้สมัครในนามประเทศไทย และอาเซียน ในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ มีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสำเร็จ จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะทำงาน สำหรับการณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ
1.1 รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ประธานคณะทำงาน
1.2 เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทย ประจำสหประชาชาติ คณะทำงาน
1.3 อธิบดี กรมองค์การระหว่างประเทศ คณะทำงาน
1.4 รองอธิบดี กรมองค์การระหว่างประเทศ นางบุศยา มาทแล็ง คณะทำงาน
1.5 รองอธิบดี กรมสารนิเทศ นายพิริยะ เข็มพล คณะทำงาน
1.6 นายเสข วรรณเมธี เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน
1.7 นายภควัต ตันสกุล เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน
1.8 ผู้อำนวยการกองงานบริหารองค์การระหว่างประเทศ คณะทำงาน และเลขานุการ
1.9 นายธีรวัฒน์ ภูมิจิตร เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.10 นายจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.11 นายสุริยา จินดาวงศ์ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.12 นายโวสิต วรทรัพย์ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
1.13 นางศรีพันธ์ จันทรัคคะ เจ้าหน้าที่ธุรการ 5 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
2.1 พิจารณากำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินการ แผนการณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ รวมทั้งท่าทีของไทยในการรณรงค์
2.2 พิจารณากำหนดแผนงานด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการณรงค์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
2.3 พิจารณาเสนองบประมาณเพื่อการณรงค์และการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
2.4 ดำเนินการรณรงค์โดยประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มงาน เพื่อสนับสนุนคณะทำงาน เพื่อการณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ของกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
2.5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจในการพิจารณาเห็นชอบแผนการเดินทางของผู้สมัคร และคณะ สำหรับการรณรงค์หาเสียง
2.6 แต่งตั้งบุคคล หรือคณะทำงานเฉพาะกิจ สำหรับการรณรงค์หาเสียง
2.7 มีสำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ พลขับ และอุปกรณ์การสื่อสาร อันสมควรตามความจำเป็นแก่การณรงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานการจัดหา
2.8 ปฏิบัติการอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ให้ดำเนินการใช้งบประมาณตามความเหมาะสมจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 -2550 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น ให้เบิกจ่ายที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการ ให้หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 25 กันยายน พุทธศักราช 2549
ลงชื่อ
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 16/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. มีคำสั่งที่ 16/2549 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อให้การเปิดใช้ ในวันที่ 28 ก.ย.นี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานกรรมการ
2. พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชการทหารสูงสุด เป็นรองประธานกรรมการ
3. พล.ต.อ.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ
4. นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เป็นกรรมการ
5. ร.อ.ท.อภินันท์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการ
6. นายกอบชัย ศรีวิลาศ เป็นกรรมการ
7. นายสมชัย สวัสดิผล เป็นกรรมการ
8. นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ และเลขานุการ
9. เจ้าหน้าที่ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
10. เจ้าหน้าที่ที่เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
1. กำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2549 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. ประสานและติดตามการดำเนินการของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือคำสั่งอื่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงาน อื่นของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3. รับและพิจารณาข้อเสนอแนะจากสายการบิน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4. สั่งการและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
5. เสนอแนะการกราบบังคมทูลพระกรุณาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการ
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือบุคคล และมอบหมายให้ดำเนินการเรื่องใดๆ แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
7. ดำเนินการอื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ให้คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือคำสั่งอื่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามการสั่งการ การประสาน และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการโดยเร็ว ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 25 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่ง หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 17/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา
คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 17/2549 เรื่องแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา โดยที่ได้มีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 7/2549 เรื่องการจัดส่วนงานและการแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารงานของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน จึงแต่งตั้งบุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้ ประกอบกันเป็นคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งดังกล่าว ดังต่อไปนี้
คณะที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ
1.ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นประธานที่ปรึกษา 2.นายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นที่ปรึกษา3.นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นที่ปรึกษา 4.นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เป็นที่ปรึกษา5.คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เป็นที่ปรึกษา 6.นายไชย ไชยวรรณ เป็นที่ปรึกษา 7.นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นที่ปรึกษา 8.ศ.เทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา9.ศ.ปราณี ทินกร เป็นที่ปรึกษา 10.นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา 11.ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา 12.ศ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เป็นที่ปรึกษา 13.รศ.วรพล โสคติยานุรักษ์ เป็นที่ปรึกษา14.นายวิรไท สันติประภพ เป็นที่ปรึกษา 15. นายสันติ วิลาสศักดานนท์ เป็นที่ปรึกษา 16.นายศิวะพร ทรรทรานนท์ เป็นที่ปรึกษา 17.นายอาชว์ เตาลานนท์ เป็นที่ปรึกษา 18.ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา 19. น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช เป็นที่ปรึกษา
คณะที่ปรึกษาฝ่ายการต่างประเทศ
1.นายวิทยา เวชชาชีวะ เป็นประธานที่ปรึกษา2.นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เป็นที่ปรึกษา 3.นายกำธร อุดมฤทธิรุจน์ เป็นที่ปรึกษา 4.นายเตช บุนนาค เป็นที่ปรึกษา 5.นายนิตย์ พิบูลสงคราม เป็นที่ปรึกษา 6.นายพิศาล มาณวพัฒน์ เป็นที่ปรึกษา 7.นายวิทย์ รายนานนท์ เป็นที่ปรึกษา 8.นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช เป็นที่ปรึกษา
คณะที่ปรึกษาด้านการเสริมสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
1.รศ.จุรี วิจิตรวาทการ เป็นประธานที่ปรึกษา 2.รศ.กำชัย จงจักรพันธุ์ เป็นที่ปรึกษา 3.รศ.จรัล เล็งวิทยา เป็นที่ปรึกษา 4.นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ เป็นที่ปรึกษา 5.รศ.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เป็นที่ปรึกษา 6.ผศ.ธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย เป็นที่ปรึกษา 7.รศ.บุญสม ศิริบำรุงสุข เป็นที่ปรึกษา 8.รศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา 9.รศ.พงษศักดิ์ อังกะสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษา 10.รศ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา 11.รศ.ลาวัลย์ หอนพรัตน์ เป็นที่ปรึกษา 12.ศ.วันชัย ศิริชนะ เป็นที่ปรึกษา 13.ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นที่ปรึกษา
คณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม
1.นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานที่ปรึกษา 2.นายโคทม อารียา เป็นที่ปรึกษา 3.รศ.จรัส สุวรรณมาลา เป็นที่ปรึกษา 4.นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นที่ปรึกษา 5.นางเตือนใจ ดีเทศน์ เป็นที่ปรึกษา 6.ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล เป็นที่ปรึกษา 7.รศ.ธีรภัทร เสรีรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา 8.รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นที่ปรึกษา 9.รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นที่ปรึกษา 10.ศ.พรชัย มาตังคสมบัติ เป็นที่ปรึกษา 11.นายพิภพ ธงไชย เป็นที่ปรึกษา 12.ภราดาประทีป โกมลมาศ เป็นที่ปรึกษา 13.นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เป็นที่ปรึกษา 14.นายประยงค์ รณรงค์ เป็นที่ปรึกษา 15.นายวรวิทย์ บารู เป็นที่ปรึกษา 16.นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เป็นที่ปรึกษา 17.รศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นที่ปรึกษา 18.ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นที่ปรึกษา 19.ศ.วันชัย วัฒนศัพท์ เป็นที่ปรึกษา 20.รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม เป็นที่ปรึกษา 21.ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา 22.รศ.สุริชัย หวันแก้ว เป็นที่ปรึกษา 23.ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นที่ปรึกษา 24.คุณหญิงแสงดาว สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา 25.นายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นที่ปรึกษา 26.รศ.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ เป็นที่ปรึกษา
ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอคำแนะนำแก่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขร้องขอ หรือตามที่คณะที่ปรึกษาเห็นสมควร
ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ ประชุมพิจารณาเรื่องทั้งหลายแยกกัน แต่อาจจัดให้มีการประชุมร่วมกันของคณะที่ปรึกษาทุกคณะหรือบางคณะได้ตามที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ เห็นสมควร
ให้คณะที่ปรึกษาแต่งตั้งที่ปรึกษาคนหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่เลขานุการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้ ให้สำนักเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนวยความสะดวกในการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งนี้
สั่ง ณ วันที่ 26 กันยายน 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ 19/2549
เรื่องแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขคำสั่ง นายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงให้ยกเลิกความในข้อ 5 (1) และ (23) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2548 เรื่องการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและคณะที่ปรึกษาลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประธานกรรมการ
(23) เสนาธิการทหารบก กรรมการและเลขานุการร่วม"
สั่ง ณ วันที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ 20/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการรักษาราชการแทน
ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายถวิล สมัครรัฐกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 10) ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป
เพื่อให้การปฏิบัติราชการในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นไปด้วยความต่อเนื่อง เมื่อตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 10) ว่างลงในเวลาข้างต้น จึงแต่งตั้งให้ นางจุฬารัตน์ บุณยากร รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 9) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (นักบริหาร 10)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
สั่ง ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
Tuesday, September 19, 2006
ประกาศคณะปฏิรูปฯ (16-32)
ที่มา http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?Newsid=102182&NewsType=1&Template=1
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 16
เรื่อง ให้คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา
เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความต่อเนื่องในระหว่างที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้ ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ดำเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการให้ความเห็นชอบแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ในเรื่องนั้น
ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
ประกาศหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17
ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 เรื่อง มอบอำนาจบริหาราชการแผ่นดินตามประกาศ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 19 ก.ย. 2549 มีคำสั่งให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มอบหมายนั้น เพื่อให้การบริหารราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงมอบหมายให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี แทนหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังกล่าวข้างต้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการและปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ประกาศ ณ วันที่ 22 ก.ย. 2549 ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
--------------------------------------------------------------
ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 18
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจเพื่อให้มีความเป็นอิสระเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ยิ่งขึ้น และมิให้อิทธิพลทางการเมืองก้าวก่ายการดำเนินกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น อันจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนโดยส่วนรวมยิ่งขึ้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ กตร. ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ
(2) จเรตำรวจแห่งชาติ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด จำนวน 2 คน
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ซึ่งได้รับการสรรหาจากประธาน และกรรมการตาม (2) ให้ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นกรรมการและเลขานุการ กตร. และรองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ กตร.
ข้อ 2 ให้การดำเนินการของ กตร. ตามข้อ 1 มิให้นำความในมาตรา 54 มาตรา 55 และมาตรา 57 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการทำความตกลงและการให้ความเห็นชอบมาใช้บังคับ
ข้อ 3 การใดที่ กตร. ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ดำเนินการไปแล้วก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับนี้ใช้บังคับ แต่ดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ และมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลและอยู่ในอำนาจของ กตร. ให้ กตร. ตามข้อ 1 พิจารณาดำเนินการตามควรแต่กรณี
ข้อ 4 ให้ กตร. ซึ่งดำรงอยู่ในตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง
ข้อ 5 ให้ดำเนินการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ให้แล้วเสร็จใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 6 เมื่อได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หรือเมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ประกาศฉบับนี้เป็นอันยกเลิก ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
--------------------------------------------------------
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19
เรื่องให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมควรปรับปรุง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และมีผลบังคับใช้ต่อไป คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1.ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป้องกันและปราบปราบการทุจริต พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้งดการบังคับใช้บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหา
2.ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับต่อไป
3.ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราบการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย
1.นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ
2.นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ
3.นายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ
4.นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ
5.ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ กรรมการ
6.ศาสตราจารย์เมธี กรองแก้ว กรรมการ
7.นายวิชา มหาคุณ กรรมการ
8.นายวิชัย วิวิชเสวี กรรมการ
และ9.นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ
ข้อ 4. ในกรณีที่ประธานกรรมการ หรือ กรรมการ ตามข้อ 3 พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใด และมีกรรมการเหลืออยู่ตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ ถ้าประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่ง ให้กรรมการที่เหลืออยู่คัดเลือกกันเอง ให้กรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการแทน
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งและมีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 6 คน ให้นายกรัฐมนตรีสรรหาบุคคล เพื่อขอความเห็นชอบจากสภา ที่ทำหน้าที่นิติบัญญํติ และนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงลงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป หรือดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ 3 ดำเนินการตามมาตรา 11 แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ในกรณีที่บุคคลตามข้อ 3 ไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาตามวรรค 1 หรือไม่อาจรับตำแหน่งได้ ให้นำความในข้อ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศมา ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-----------------------------------------------------------------
ประกาศ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 20
เรื่อง ให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ซึ่งมีผลให้คณะกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี หรือ นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ต้องสิ้นสภาพลง ยกเว้นคณะกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ฉะนั้น เพื่อไม่ให้งานของคณะกรรมการต้องหยุดชะงักลง จึงให้คณะกรรมการดังกล่าว ยังคงอยู่ และปฏิบัติหน้าที่ที่มีอยู่ต่อไป เว้นแต่ส่วนราชการที่เป็นผู้เสนอขอให้มีคณะกรรมการนั้นๆ เห็นสมควรยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลง ให้ปลัดกระทรวงนั้นๆ เสนอขอคำวินิจฉัยต่อหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ คณะกรรมการที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ให้หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มอบหมายเป็นประธานกรรมการ และสำหรับคณะกรรมการที่มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ให้รองหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือผู้ซึ่งรองหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มอบหมายเป็นประธานกรรมการ ทั้งนี้ จนกว่าจะมใการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ขึ้นบริหารราชการแผ่นดินแล้ว
ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 21
เรื่อง ห้ามดักฟังทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารใด
โดยที่ในระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการลักลอบดักฟัง ใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความที่มีการติดต่อทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการละเมิดเสรีภาพของบุคคล ในการสื่อสารถึงกัน ก่อให้เกิดความหวาดระแวงกันทั่วไปในหมู่ประชาชนผู้ใช้เครื่องมือสื่อสาร ดังนั้น เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และรักษาความสงบของประเทศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1.ผู้ใดดักฟังใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยซึ่งข้อความที่มีการติดต่อทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารสิ่งใด โดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ผู้ใดรับรู้ข้อความที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามข้อ 1 ใช้ประโยชน์หรือเปิดเผยข้อความนั้นต่อผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ผู้ใดใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามข้อ 1 หรือข้อ 2 ต้องรับโทษเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ตามที่บัญญัติไว้ในความผิดตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี
4.ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้บริการโทรศัพท์หรือการสื่อสาร หรือเป็นผู้ได้รับสัมปทานการให้บริการดังกล่าว นอกจากต้องได้รับโทษตามข้อ 1 ข้อ 2 หรือข้อ 3 แล้วแต่กรณีแล้ว ให้ใบอนุญาตหรือสัมปทานนั้นสิ้นสุดลงด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-----------------------------------------------------------------
ประกาศ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 22
เรื่อง ขอให้ยุติความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น
ตามที่คณะปฏิรูปฯ ได้ประกาศกฏอัยการศึกตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 เป็นต้นมา และได้มีประกาศฉบับที่ 7 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมือง โดยไม่ให้มั่วสุมประชุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปนั้น ด้วยปัจจุบันปรากฎความเคลื่อนไหวของกลุ่มสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) รวมทั้งกลุ่มองค์กรอื่น ๆ ทั้งที่มีความมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านการดำเนินการของคณะปฏิรูปฯ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน อันจะนำไปสู่ความแตกแยกในสังคมต่อไป ดังนั้น คณะปฏิรูปฯ จึงขอประกาศให้กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ยุติความเคลื่อนไหวและการรวมกลุ่มทางการเมืองไว้จนกว่าสถานการณ์ของประเทศจะเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งคณะปฏิรูปฯ จะได้มีประกาศให้ทราบต่อไป ทั้งนี้ หากมีผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษโดยเฉียบขาด
ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-------------------------------------------------------------------------
ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23
เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สิน
เนื่องด้วยปรากฏว่าการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศอย่างร้ายแรง จึงสมควรดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานและโครงการต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีดังกล่าวว่าเป็น ไปโดยสุจริตหรือไม่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
1.นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการ
2.ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นกรรมการ
3.อัยการสูงสุดหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
4.เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
5.เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
6.เจ้ากรมพระธรรมนูญหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
7.ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
8.เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
ให้คณะกรรมการตรวจสอบแต่งตั้งเลขานุการคนหนึ่ง และผู้ช่วยเลขานุการตามความจำเป็น
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับผิดชอบงานด้านธุรการของคณะกรรมการตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมาย
ข้อ 2 ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการซึ่งได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง โดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ว่าเป็นไปโดยสุจริตหรือไม่ ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินงานหรือโครงการใดมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ และมีพฤติการณ์ว่าบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น คู่สมรสและบุตร ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามประกาศนี้ นอกจากอำนาจตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตามกฎหมายดังต่อไปนี้ด้วย
1.พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรม
2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
3.ประมวลรัษฎากร โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร เฉพาะที่เกี่ยวกับการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง คณะกรรมการตรวจสอบจะเรียกสำนวนการสอบสวนหรือการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจสอบแผ่นดินมาใช้ประกอบการพิจารณา และใช้เป็นสำนวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ในกรณีที่มีเรื่องเดียวกันอยู่ในการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือคณะกรรมการธุรกรรม ให้ประสานงานเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี
ข้อ 3 ให้คณะกรรมการตรวจสอบแจ้งรายชื่อบุคคลตามข้อ 2 แก่สถาบันการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมที่ดิน กรมสรรพากร หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้นั้น เพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลนั้นแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินและการเสียภาษีอากร ตลอดจนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของบุคคลตามข้อ 2 คู่สมรสและบุตร ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบภายในเวลาและตามวิธีการที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีอำนาจสั่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์ส่งข้อมูลและเอกสารให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจสอบได้ มิให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มาใช้บังคับกับการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 4 ในกรณีที่บุคคลซึ่งถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามข้อ 2 ไม่แจ้งข้อมูลตามข้อ 3 หรือไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ถูกยึด หรือยักย้าย จำหน่าย จ่ายโอนทรัพย์สินที่ถูกอายัด ให้ถือว่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบและเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ในกรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลตามข้อ 3 ไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดตามข้อ 3 หากมีกรณีเกิดความเสียหายขึ้นจากการที่ไม่ดำเนินการนั้น ให้หน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อ 5 บรรดาทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดตามข้อ 2 ถ้าเจ้าของทรัพย์สินพิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดได้ว่า ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น
ข้อ 6 ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุคคลใดกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติ ให้ส่งรายงาน เอกสารหลักฐาน พร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ข้อ 7 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่มอบหมายได้
ข้อ 8 ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตามประกาศนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง และการตรวจสอบหรือสอบสวนเรื่องใดยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งมอบสำนวนคืนให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี
ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2549
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
----------------------------------------------------------------------------
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 24
เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหน้าที่ของผู้ต้องหาในคดีอาญาให้พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปราม การกระทำผิดกฎหมายคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้ ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญามีหน้าที่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือ หรือลายเท้าตามคำสั่งของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดฐานกระทำความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-----------------------------------------------------------------------------
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 26
เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับต่อไป และแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น ให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม และมีความต่อเนื่องนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน ตามอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 ยังคงใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก
ข้อ 2 ให้ยกเลิก ข้อ 2 และ ข้อ 3 ของประกาศณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
ข้อ 3 ให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับการสรรหา และแต่งตั้งโดยชอบ โดยพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศดังกล่าว และมีอำนาจ และหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 และกฎหมายอื่นๆ ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 27
เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พุทธศักราช 2541 มีผลใช้บังคับต่อไปนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการมีผลบังคับใช้ของกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งกำหนดเรื่องการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำต้องห้ามตามกฎหมายนั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1.ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ยังคงใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก
ข้อ 2 การห้ามพรรคการเมืองดำเนินการประชุม หรือ ดำเนินกิจการใด ๆ ทางการเมือง ตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติเป็นอย่างอื่น
ข้อ 3 ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พุทธศักราช 2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรค
ข้อ 4 ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำสั่งของศาล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2541 ก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นยังคงถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามคำสั่งศาลของต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 28
เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 และฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 เรื่องมอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน พศ.2549 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาตินั้น บัดนี้สมควรให้การบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เดิม หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ให้ยกเลิกประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 เรื่องมอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดินและฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
ข้อ 2.ให้บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ซึ่งบังคับใช้อยู่ก่อนวันที่ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายนนี้ พ.ศ.2549 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติใช้บังคับมีผลบังคับใช้อยู่ต่อไปเช่นเดิม
ข้อ 3.การยกเลิกประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามข้อ 1. ไม่กระทบกระเทือนการใดๆ ที่กระทำในระหว่างที่ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดังกล่าวมีผลใช้บังคับ และให้ดำเนินการจัดให้มีคณะกรรมการข้าราชตำรวจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจตามวรรค 1 ให้บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตำรวจตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน พศ.2549 ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการข้าราชการตำรวจไปพลางก่อน
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 29
เรื่องแก้ไขประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปนั้น เพื่อให้มีความชัดเจนในผลการใช้บังคับที่ยังคงให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใช้บังคับโดยต่อเนื่อง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1. ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิ ให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ยังคงใช้บังคับต่อไป เว้นแต่ส่วนบัญญัติในส่วนที่ 1 หมวด 1 จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก และให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2549 พ้นจากตำแหน่ง
2. ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 2 ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2549 คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2550
ข้อ 3 ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินใหม่ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามข้อ 2 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับลง วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้พ้นจากตำแหน่ง ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามวรรค 1 ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรค 1 ยังคงปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อน
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30
เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23 เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549 นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการดำเนินการตรวจสอบ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐได้กว้างขวางขึ้น คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ให้ยกเลิกประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23 เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549
ข้อ 2.ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่งประกอบด้วย 1.นายกล้านรงค์ จันทิก เป็นกรรมการ 2. นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นกรรมการ 3.คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นกรรมการ 4.นายจิรนิติ หะวานนท์ เป็นกรรมการ 5.นายนาม ยิ้มแย้ม เป็นกรรมการ 6.นายบรรเจิด สิงห์คะเนติ เป็นกรรมการ 7.นายวิโรจน์ เลาหพันธ์ เป็นกรรมการ 8.นายสวัสดิ์ โชติพาณิช 9.นายสัก ก่อแสงเรือง เป็นกรรมการ 10.นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ เป็นกรรมการ 11.นายอุดม เฟื่องฟุ่ง เป็นกรรมการ 12.นายอำนวย ธันธรา เป็นกรรมการ ในกรณีที่กฎหมายห้ามมิให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือห้ามการปฎิบัติหน้าที่อื่นในการดำรงตำแหน่ง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การแต่งตั้งและการปฎิบัติหน้าเป็นกรรมการตรวจสอบ ให้กรรมการตรวจสอบวรรคหนึ่งเลือกกรรมการด้วยกันเองคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และมีอำนาจแต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน และ ผู้ช่วยเลขานุการตามความจำเป็น ในกรณีที่มีกรรมการว่างลงให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฎิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ต้องมีกรรมการเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดและให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ที่เห็นสมควรเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ว่างลง
ข้อ 3.ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรับงานธุรการของคณะกรรมการตรวจสอบและปฎิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมาย ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ร่วมมือดำเนินการตามที่คณะกรรมการตรวจสอบร้องขอ รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลบุคลากรหรือการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการปฎิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการจัดหาสถานที่ที่ทำการของคณะกรรมการตรวจสอบตามความเหมาะสม และในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบร้องขอให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐมาช่วยปฎิบัติงานตามที่คณะกรรมการตรวจสอบได้
ข้อ 4.ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน โดยเจียดจ่ายเงินที่เหลือจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตามจำนวนที่เห็นสมควรเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของคณะกรรมการตรวจสอบในกรณีที่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ให้คณะรัฐมนตรีสนับสนุนงบประมาณตามที่จำเป็น ค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดในการปฎิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจสอบและค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดของเจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติงานในกับคณะกรรมการตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี
ข้อ 5.ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.ตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบ โดยบุคคลใดในคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มีเหตุสงสัยว่าจะเป็นไปโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ 2.ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทานหรือการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบ หรือมีการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบ 3.ตรวจสอบการปฎิบัติราชการใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ 4.ตรวจสอบการกระทำของบุคคลใดๆ ที่เห็นว่าเป็นไปด้วยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรอันเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบและมีพฤติการว่ามีบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึดหรืออาญัติทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น ควรสมรสและบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามประกาศนี้ นอกจากอำนาจตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการมีอำนาจตามกฎหมายดังต่อไปนี้ด้วย 1.พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟองเงินและคณะกรรมการธุรกรรม 2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 3.ประมวลรัชดากรโดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรเฉพาะที่เกี่ยวกับการยึดอาญัติและการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาเรื่องใดๆ ที่เห็นควรตรวจสอบเรื่องที่มีผู้เสนอข้อมูลหรือเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของหน่วยงานอื่นใด และให้มีอำนาจเรียกสำนวนหรือเรื่องที่อยู่ในการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ หรือเรียกสำนวนการสอบสวนหรือการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถ้ามีมาพิจารณาและให้ใช้เป็นสำนวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยจะสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่มีเรื่องเดียวกันอยู่ในการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือคณะกรรมการธุรกรรม ให้ประสานงานเพื่อดำเนินการตามสมควรแก่กรณี 6.ให้คณะกรรมการตรวจสอบแจ้งรายชื่อบุคคลตามข้อ5 แก่สถาบันการเงินสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมที่ดิน กรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้นั้น เพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลนั้นแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินและการเสียภาษีอากร ตลอดจนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องบุคคลตามข้อ 5 คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบภายในเวลา และตามวิธีการที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด ในการปฎิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีอำนาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ส่งข้อมูลและเอกสารให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อแจ้งแก่คณะกรรมการตรวจสอบได้ มิให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ข้อ7.ในกรณีที่บุคคลที่ถูกยึดและอาญัติทรัพย์ตามข้อ 5 หรืออาญัติทรัพย์สินตามข้อ 5 ไม่แจ้งข้อมูลตามข้อ 6 หรือไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ถูกยึดยักย้ายจำหน่ายหรือจ่ายโอนทรัพย์สินที่ถูกอาญัติให้ถือว่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบ และเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากความร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดว่าการป้องกันและปราบปรามการฟองเงิน ในกรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลตามข้อ 6 ไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดตามข้อ 6 หากมีกรณีเกิดความเสียหายขึ้นจากการไม่ดำเนินการนั้น ให้หน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ข้อ 8.บรรดาทรัพย์สินที่ถูกหรืออาญัติตามข้อ 5 ถ้าเจ้าของทรัพย์สินพิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบได้ว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นมิใช้ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่ไม่มาจากการร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์เพิ่มขึ้นผิดปกติหรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งเพิกถอนการยึดหรืออาญัติทรัพย์สินนั้น ข้อ 9.ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุคคลใดกระทำความต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติให้ส่งรายงานเอกสารหลักฐานพร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และพระราชบัญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่าง แต่คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นยืนยันตามความเห็นเดิม ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจดำเนินการให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแล้วแต่กรณี ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าบุคคลใดกระทำผิดกฎหมายและเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นต่อไป โดยถือผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นการสอบสวนตามกฎหมายนั้น ข้อ 10.ในการปฎิบัติหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฎิบัติการตามที่มอบหมายได้ ข้อ 11. ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตามประกาศนี้ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งและการตรวจสอบหรือสอบสวนเรื่องใดยังไม่แล้วเสร็จให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งมอบสำนวนคืนให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่นเพื่อดำเนินการตามอำนวจหน้าที่ของตนแล้วแต่กรณี ข้อ 12.การแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23 เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549 โดยประกาศฉบับนี้ไม่กระทบกระเทือนการใดๆ ที่คณะกรรมการตรวจสอบได้กระทำไปก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31
เรื่อง การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปและแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปด้วยนั้น
โดยที่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีเรื่องค้างอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะว่างเว้นจากการมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 1 และข้อ 2 ของประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังคงบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม โดยยกเลิกและให้ถือว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ข้อ 2 การยกเลิกรัฐะรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ยังคงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิก ข้อ 2 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศฉบับดังกล่าวและมีวาระการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ข้อ 3 กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายในเวลาที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กำหนดให้ดำเนินการตามมาตรา 34 เช่นเดียวกับกรณีการจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ข้อ 4 ในการดำเนินการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจออกคำสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติไว้ชั่วคราว ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะยื่นคำร้องขอผ่อนผันเพื่อขอรับทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์ โดยมีหรือไม่มีหลักประกันก็ได้ เมื่อมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวตามวรรค 1 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จัดให้มีการพิสูจน์เกี่ยวกับทรัพย์สินโดยเร็ว ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดชั่วคราวมิได้เพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจยึดหรือยึดอายัดทรัพย์สินนั้นไว้ต่อไปจนกว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะมีมติว่าทรัพย์สินนั้นมิได้เพิ่มขึ้นผิดปกติ ซึ่งต้องไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันยึดหรืออายัด หรือจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกคำร้องแต่ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ก็ให้คืนทรัพย์สินนั้นแก่ผู้นั้น ข้อ 5 ในการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาจมอบหมายให้คณะพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานและสรุปสำนวนเสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กำหนด ข้อ 6 กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรอาจส่งเรื่องที่มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่ใช่บุคคลตามมาตรา 66 ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่กระทำความผิดต่อตำแหน่งราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ดำเนินการทางวินัย หรือดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้วแต่กรณี หรือส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไปก็ได้ ข้อ 7 การลงมติของที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไม่ว่าเป็นมติในการวินิจฉัย หรือให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ถือเสียงข้างมาก ข้อ 8 บรรดาบทบัญญัติใดของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 32
เรื่อง อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เพื่อให้การดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นแล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ยังคงสามารถตรวจสอบการกระทำที่ไม่สุจริตของผู้ได้รับการเลือกตั้งได้ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
ข้อ 2. เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามข้อ 1 แล้ว หากภายหลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ได้รับการเลือกตั้งตามข้อ 1 ผู้ใดกระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตหรือกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เพื่อตนเองได้รับการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือมีการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ได้รับการเลือกตั้งผู้นั้นมีกำหนดเวลา 1 ปี และดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เว้นแต่กระทำนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับการเลือกตั้ง
ข้อ 3. บรรดาบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในประกาศฉบับนี้แทน
ข้อ 4 .ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ดำเนินการก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับด้วย โดยกำหนดเวลา 30 วันตามข้อ 1 ให้นับตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 16
เรื่อง ให้คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา
เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความต่อเนื่องในระหว่างที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้ ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ดำเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการให้ความเห็นชอบแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ในเรื่องนั้น
ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
ประกาศหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17
ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 เรื่อง มอบอำนาจบริหาราชการแผ่นดินตามประกาศ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 19 ก.ย. 2549 มีคำสั่งให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มอบหมายนั้น เพื่อให้การบริหารราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงมอบหมายให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี แทนหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังกล่าวข้างต้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการและปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ประกาศ ณ วันที่ 22 ก.ย. 2549 ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
--------------------------------------------------------------
ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 18
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระบบการบริหารงานตำรวจเพื่อให้มีความเป็นอิสระเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ยิ่งขึ้น และมิให้อิทธิพลทางการเมืองก้าวก่ายการดำเนินกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น อันจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนโดยส่วนรวมยิ่งขึ้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ กตร. ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ
(2) จเรตำรวจแห่งชาติ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด จำนวน 2 คน
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ซึ่งได้รับการสรรหาจากประธาน และกรรมการตาม (2) ให้ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นกรรมการและเลขานุการ กตร. และรองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ กตร.
ข้อ 2 ให้การดำเนินการของ กตร. ตามข้อ 1 มิให้นำความในมาตรา 54 มาตรา 55 และมาตรา 57 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการทำความตกลงและการให้ความเห็นชอบมาใช้บังคับ
ข้อ 3 การใดที่ กตร. ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ดำเนินการไปแล้วก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับนี้ใช้บังคับ แต่ดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ และมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลและอยู่ในอำนาจของ กตร. ให้ กตร. ตามข้อ 1 พิจารณาดำเนินการตามควรแต่กรณี
ข้อ 4 ให้ กตร. ซึ่งดำรงอยู่ในตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง
ข้อ 5 ให้ดำเนินการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ให้แล้วเสร็จใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 6 เมื่อได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หรือเมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ประกาศฉบับนี้เป็นอันยกเลิก ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
--------------------------------------------------------
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19
เรื่องให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมควรปรับปรุง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และมีผลบังคับใช้ต่อไป คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1.ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป้องกันและปราบปราบการทุจริต พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้งดการบังคับใช้บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหา
2.ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับต่อไป
3.ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราบการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย
1.นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ
2.นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ
3.นายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ
4.นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ
5.ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ กรรมการ
6.ศาสตราจารย์เมธี กรองแก้ว กรรมการ
7.นายวิชา มหาคุณ กรรมการ
8.นายวิชัย วิวิชเสวี กรรมการ
และ9.นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ
ข้อ 4. ในกรณีที่ประธานกรรมการ หรือ กรรมการ ตามข้อ 3 พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใด และมีกรรมการเหลืออยู่ตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ ถ้าประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่ง ให้กรรมการที่เหลืออยู่คัดเลือกกันเอง ให้กรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการแทน
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งและมีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 6 คน ให้นายกรัฐมนตรีสรรหาบุคคล เพื่อขอความเห็นชอบจากสภา ที่ทำหน้าที่นิติบัญญํติ และนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงลงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป หรือดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ 3 ดำเนินการตามมาตรา 11 แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ในกรณีที่บุคคลตามข้อ 3 ไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาตามวรรค 1 หรือไม่อาจรับตำแหน่งได้ ให้นำความในข้อ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศมา ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-----------------------------------------------------------------
ประกาศ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 20
เรื่อง ให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ซึ่งมีผลให้คณะกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี หรือ นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ต้องสิ้นสภาพลง ยกเว้นคณะกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ฉะนั้น เพื่อไม่ให้งานของคณะกรรมการต้องหยุดชะงักลง จึงให้คณะกรรมการดังกล่าว ยังคงอยู่ และปฏิบัติหน้าที่ที่มีอยู่ต่อไป เว้นแต่ส่วนราชการที่เป็นผู้เสนอขอให้มีคณะกรรมการนั้นๆ เห็นสมควรยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลง ให้ปลัดกระทรวงนั้นๆ เสนอขอคำวินิจฉัยต่อหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ คณะกรรมการที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ให้หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มอบหมายเป็นประธานกรรมการ และสำหรับคณะกรรมการที่มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ให้รองหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือผู้ซึ่งรองหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มอบหมายเป็นประธานกรรมการ ทั้งนี้ จนกว่าจะมใการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ขึ้นบริหารราชการแผ่นดินแล้ว
ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 21
เรื่อง ห้ามดักฟังทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารใด
โดยที่ในระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการลักลอบดักฟัง ใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความที่มีการติดต่อทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการละเมิดเสรีภาพของบุคคล ในการสื่อสารถึงกัน ก่อให้เกิดความหวาดระแวงกันทั่วไปในหมู่ประชาชนผู้ใช้เครื่องมือสื่อสาร ดังนั้น เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และรักษาความสงบของประเทศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1.ผู้ใดดักฟังใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยซึ่งข้อความที่มีการติดต่อทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารสิ่งใด โดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ผู้ใดรับรู้ข้อความที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามข้อ 1 ใช้ประโยชน์หรือเปิดเผยข้อความนั้นต่อผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ผู้ใดใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามข้อ 1 หรือข้อ 2 ต้องรับโทษเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ตามที่บัญญัติไว้ในความผิดตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี
4.ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้บริการโทรศัพท์หรือการสื่อสาร หรือเป็นผู้ได้รับสัมปทานการให้บริการดังกล่าว นอกจากต้องได้รับโทษตามข้อ 1 ข้อ 2 หรือข้อ 3 แล้วแต่กรณีแล้ว ให้ใบอนุญาตหรือสัมปทานนั้นสิ้นสุดลงด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-----------------------------------------------------------------
ประกาศ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 22
เรื่อง ขอให้ยุติความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น
ตามที่คณะปฏิรูปฯ ได้ประกาศกฏอัยการศึกตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 เป็นต้นมา และได้มีประกาศฉบับที่ 7 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมือง โดยไม่ให้มั่วสุมประชุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปนั้น ด้วยปัจจุบันปรากฎความเคลื่อนไหวของกลุ่มสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) รวมทั้งกลุ่มองค์กรอื่น ๆ ทั้งที่มีความมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านการดำเนินการของคณะปฏิรูปฯ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน อันจะนำไปสู่ความแตกแยกในสังคมต่อไป ดังนั้น คณะปฏิรูปฯ จึงขอประกาศให้กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ยุติความเคลื่อนไหวและการรวมกลุ่มทางการเมืองไว้จนกว่าสถานการณ์ของประเทศจะเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งคณะปฏิรูปฯ จะได้มีประกาศให้ทราบต่อไป ทั้งนี้ หากมีผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษโดยเฉียบขาด
ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-------------------------------------------------------------------------
ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23
เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สิน
เนื่องด้วยปรากฏว่าการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศอย่างร้ายแรง จึงสมควรดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานและโครงการต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีดังกล่าวว่าเป็น ไปโดยสุจริตหรือไม่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
1.นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการ
2.ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นกรรมการ
3.อัยการสูงสุดหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
4.เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
5.เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
6.เจ้ากรมพระธรรมนูญหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
7.ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
8.เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
ให้คณะกรรมการตรวจสอบแต่งตั้งเลขานุการคนหนึ่ง และผู้ช่วยเลขานุการตามความจำเป็น
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับผิดชอบงานด้านธุรการของคณะกรรมการตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมาย
ข้อ 2 ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการซึ่งได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง โดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ว่าเป็นไปโดยสุจริตหรือไม่ ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินงานหรือโครงการใดมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ และมีพฤติการณ์ว่าบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น คู่สมรสและบุตร ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามประกาศนี้ นอกจากอำนาจตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตามกฎหมายดังต่อไปนี้ด้วย
1.พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรม
2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
3.ประมวลรัษฎากร โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร เฉพาะที่เกี่ยวกับการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง คณะกรรมการตรวจสอบจะเรียกสำนวนการสอบสวนหรือการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจสอบแผ่นดินมาใช้ประกอบการพิจารณา และใช้เป็นสำนวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ในกรณีที่มีเรื่องเดียวกันอยู่ในการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือคณะกรรมการธุรกรรม ให้ประสานงานเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี
ข้อ 3 ให้คณะกรรมการตรวจสอบแจ้งรายชื่อบุคคลตามข้อ 2 แก่สถาบันการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมที่ดิน กรมสรรพากร หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้นั้น เพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลนั้นแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินและการเสียภาษีอากร ตลอดจนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของบุคคลตามข้อ 2 คู่สมรสและบุตร ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบภายในเวลาและตามวิธีการที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีอำนาจสั่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์ส่งข้อมูลและเอกสารให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจสอบได้ มิให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มาใช้บังคับกับการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 4 ในกรณีที่บุคคลซึ่งถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามข้อ 2 ไม่แจ้งข้อมูลตามข้อ 3 หรือไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ถูกยึด หรือยักย้าย จำหน่าย จ่ายโอนทรัพย์สินที่ถูกอายัด ให้ถือว่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบและเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ในกรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลตามข้อ 3 ไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดตามข้อ 3 หากมีกรณีเกิดความเสียหายขึ้นจากการที่ไม่ดำเนินการนั้น ให้หน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อ 5 บรรดาทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดตามข้อ 2 ถ้าเจ้าของทรัพย์สินพิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดได้ว่า ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น
ข้อ 6 ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุคคลใดกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติ ให้ส่งรายงาน เอกสารหลักฐาน พร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ข้อ 7 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่มอบหมายได้
ข้อ 8 ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตามประกาศนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง และการตรวจสอบหรือสอบสวนเรื่องใดยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งมอบสำนวนคืนให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี
ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2549
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
----------------------------------------------------------------------------
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 24
เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหน้าที่ของผู้ต้องหาในคดีอาญาให้พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปราม การกระทำผิดกฎหมายคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้ ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญามีหน้าที่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือ หรือลายเท้าตามคำสั่งของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดฐานกระทำความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-----------------------------------------------------------------------------
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 26
เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับต่อไป และแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น ให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม และมีความต่อเนื่องนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน ตามอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 ยังคงใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก
ข้อ 2 ให้ยกเลิก ข้อ 2 และ ข้อ 3 ของประกาศณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
ข้อ 3 ให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับการสรรหา และแต่งตั้งโดยชอบ โดยพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศดังกล่าว และมีอำนาจ และหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 และกฎหมายอื่นๆ ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 27
เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พุทธศักราช 2541 มีผลใช้บังคับต่อไปนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการมีผลบังคับใช้ของกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งกำหนดเรื่องการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำต้องห้ามตามกฎหมายนั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1.ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ยังคงใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก
ข้อ 2 การห้ามพรรคการเมืองดำเนินการประชุม หรือ ดำเนินกิจการใด ๆ ทางการเมือง ตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติเป็นอย่างอื่น
ข้อ 3 ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พุทธศักราช 2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรค
ข้อ 4 ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำสั่งของศาล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2541 ก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นยังคงถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามคำสั่งศาลของต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 28
เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 และฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 เรื่องมอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน พศ.2549 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาตินั้น บัดนี้สมควรให้การบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เดิม หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ให้ยกเลิกประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 เรื่องมอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดินและฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
ข้อ 2.ให้บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ซึ่งบังคับใช้อยู่ก่อนวันที่ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายนนี้ พ.ศ.2549 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติใช้บังคับมีผลบังคับใช้อยู่ต่อไปเช่นเดิม
ข้อ 3.การยกเลิกประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามข้อ 1. ไม่กระทบกระเทือนการใดๆ ที่กระทำในระหว่างที่ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดังกล่าวมีผลใช้บังคับ และให้ดำเนินการจัดให้มีคณะกรรมการข้าราชตำรวจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจตามวรรค 1 ให้บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตำรวจตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน พศ.2549 ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการข้าราชการตำรวจไปพลางก่อน
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 29
เรื่องแก้ไขประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปนั้น เพื่อให้มีความชัดเจนในผลการใช้บังคับที่ยังคงให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใช้บังคับโดยต่อเนื่อง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1. ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิ ให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ยังคงใช้บังคับต่อไป เว้นแต่ส่วนบัญญัติในส่วนที่ 1 หมวด 1 จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก และให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2549 พ้นจากตำแหน่ง
2. ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 2 ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2549 คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2550
ข้อ 3 ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินใหม่ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามข้อ 2 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับลง วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้พ้นจากตำแหน่ง ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามวรรค 1 ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรค 1 ยังคงปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อน
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30
เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23 เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549 นั้น โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการดำเนินการตรวจสอบ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐได้กว้างขวางขึ้น คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ให้ยกเลิกประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23 เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549
ข้อ 2.ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่งประกอบด้วย 1.นายกล้านรงค์ จันทิก เป็นกรรมการ 2. นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นกรรมการ 3.คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นกรรมการ 4.นายจิรนิติ หะวานนท์ เป็นกรรมการ 5.นายนาม ยิ้มแย้ม เป็นกรรมการ 6.นายบรรเจิด สิงห์คะเนติ เป็นกรรมการ 7.นายวิโรจน์ เลาหพันธ์ เป็นกรรมการ 8.นายสวัสดิ์ โชติพาณิช 9.นายสัก ก่อแสงเรือง เป็นกรรมการ 10.นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ เป็นกรรมการ 11.นายอุดม เฟื่องฟุ่ง เป็นกรรมการ 12.นายอำนวย ธันธรา เป็นกรรมการ ในกรณีที่กฎหมายห้ามมิให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือห้ามการปฎิบัติหน้าที่อื่นในการดำรงตำแหน่ง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การแต่งตั้งและการปฎิบัติหน้าเป็นกรรมการตรวจสอบ ให้กรรมการตรวจสอบวรรคหนึ่งเลือกกรรมการด้วยกันเองคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และมีอำนาจแต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน และ ผู้ช่วยเลขานุการตามความจำเป็น ในกรณีที่มีกรรมการว่างลงให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฎิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ต้องมีกรรมการเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดและให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ที่เห็นสมควรเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ว่างลง
ข้อ 3.ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรับงานธุรการของคณะกรรมการตรวจสอบและปฎิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมาย ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ร่วมมือดำเนินการตามที่คณะกรรมการตรวจสอบร้องขอ รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลบุคลากรหรือการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการปฎิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการจัดหาสถานที่ที่ทำการของคณะกรรมการตรวจสอบตามความเหมาะสม และในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบร้องขอให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐมาช่วยปฎิบัติงานตามที่คณะกรรมการตรวจสอบได้
ข้อ 4.ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน โดยเจียดจ่ายเงินที่เหลือจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตามจำนวนที่เห็นสมควรเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของคณะกรรมการตรวจสอบในกรณีที่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ให้คณะรัฐมนตรีสนับสนุนงบประมาณตามที่จำเป็น ค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดในการปฎิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจสอบและค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดของเจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติงานในกับคณะกรรมการตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี
ข้อ 5.ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.ตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบ โดยบุคคลใดในคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มีเหตุสงสัยว่าจะเป็นไปโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ 2.ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทานหรือการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบ หรือมีการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบ 3.ตรวจสอบการปฎิบัติราชการใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ 4.ตรวจสอบการกระทำของบุคคลใดๆ ที่เห็นว่าเป็นไปด้วยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรอันเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบและมีพฤติการว่ามีบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึดหรืออาญัติทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น ควรสมรสและบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามประกาศนี้ นอกจากอำนาจตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการมีอำนาจตามกฎหมายดังต่อไปนี้ด้วย 1.พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟองเงินและคณะกรรมการธุรกรรม 2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 3.ประมวลรัชดากรโดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรเฉพาะที่เกี่ยวกับการยึดอาญัติและการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาเรื่องใดๆ ที่เห็นควรตรวจสอบเรื่องที่มีผู้เสนอข้อมูลหรือเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของหน่วยงานอื่นใด และให้มีอำนาจเรียกสำนวนหรือเรื่องที่อยู่ในการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ หรือเรียกสำนวนการสอบสวนหรือการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถ้ามีมาพิจารณาและให้ใช้เป็นสำนวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยจะสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่มีเรื่องเดียวกันอยู่ในการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือคณะกรรมการธุรกรรม ให้ประสานงานเพื่อดำเนินการตามสมควรแก่กรณี 6.ให้คณะกรรมการตรวจสอบแจ้งรายชื่อบุคคลตามข้อ5 แก่สถาบันการเงินสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมที่ดิน กรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้นั้น เพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลนั้นแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินและการเสียภาษีอากร ตลอดจนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องบุคคลตามข้อ 5 คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบภายในเวลา และตามวิธีการที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด ในการปฎิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีอำนาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ส่งข้อมูลและเอกสารให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อแจ้งแก่คณะกรรมการตรวจสอบได้ มิให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ข้อ7.ในกรณีที่บุคคลที่ถูกยึดและอาญัติทรัพย์ตามข้อ 5 หรืออาญัติทรัพย์สินตามข้อ 5 ไม่แจ้งข้อมูลตามข้อ 6 หรือไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ถูกยึดยักย้ายจำหน่ายหรือจ่ายโอนทรัพย์สินที่ถูกอาญัติให้ถือว่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบ และเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากความร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดว่าการป้องกันและปราบปรามการฟองเงิน ในกรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลตามข้อ 6 ไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดตามข้อ 6 หากมีกรณีเกิดความเสียหายขึ้นจากการไม่ดำเนินการนั้น ให้หน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ข้อ 8.บรรดาทรัพย์สินที่ถูกหรืออาญัติตามข้อ 5 ถ้าเจ้าของทรัพย์สินพิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบได้ว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นมิใช้ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่ไม่มาจากการร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์เพิ่มขึ้นผิดปกติหรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งเพิกถอนการยึดหรืออาญัติทรัพย์สินนั้น ข้อ 9.ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุคคลใดกระทำความต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติให้ส่งรายงานเอกสารหลักฐานพร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และพระราชบัญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่าง แต่คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นยืนยันตามความเห็นเดิม ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจดำเนินการให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแล้วแต่กรณี ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าบุคคลใดกระทำผิดกฎหมายและเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นต่อไป โดยถือผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นการสอบสวนตามกฎหมายนั้น ข้อ 10.ในการปฎิบัติหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฎิบัติการตามที่มอบหมายได้ ข้อ 11. ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตามประกาศนี้ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งและการตรวจสอบหรือสอบสวนเรื่องใดยังไม่แล้วเสร็จให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งมอบสำนวนคืนให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่นเพื่อดำเนินการตามอำนวจหน้าที่ของตนแล้วแต่กรณี ข้อ 12.การแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23 เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549 โดยประกาศฉบับนี้ไม่กระทบกระเทือนการใดๆ ที่คณะกรรมการตรวจสอบได้กระทำไปก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31
เรื่อง การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามที่ได้มีประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปและแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปด้วยนั้น
โดยที่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีเรื่องค้างอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะว่างเว้นจากการมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 1 และข้อ 2 ของประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังคงบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม โดยยกเลิกและให้ถือว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ข้อ 2 การยกเลิกรัฐะรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ยังคงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิก ข้อ 2 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศฉบับดังกล่าวและมีวาระการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ข้อ 3 กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายในเวลาที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กำหนดให้ดำเนินการตามมาตรา 34 เช่นเดียวกับกรณีการจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ข้อ 4 ในการดำเนินการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจออกคำสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติไว้ชั่วคราว ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะยื่นคำร้องขอผ่อนผันเพื่อขอรับทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์ โดยมีหรือไม่มีหลักประกันก็ได้ เมื่อมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวตามวรรค 1 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จัดให้มีการพิสูจน์เกี่ยวกับทรัพย์สินโดยเร็ว ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดชั่วคราวมิได้เพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจยึดหรือยึดอายัดทรัพย์สินนั้นไว้ต่อไปจนกว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะมีมติว่าทรัพย์สินนั้นมิได้เพิ่มขึ้นผิดปกติ ซึ่งต้องไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันยึดหรืออายัด หรือจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกคำร้องแต่ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ก็ให้คืนทรัพย์สินนั้นแก่ผู้นั้น ข้อ 5 ในการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาจมอบหมายให้คณะพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานและสรุปสำนวนเสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กำหนด ข้อ 6 กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรอาจส่งเรื่องที่มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่ใช่บุคคลตามมาตรา 66 ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่กระทำความผิดต่อตำแหน่งราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ดำเนินการทางวินัย หรือดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้วแต่กรณี หรือส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไปก็ได้ ข้อ 7 การลงมติของที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไม่ว่าเป็นมติในการวินิจฉัย หรือให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ถือเสียงข้างมาก ข้อ 8 บรรดาบทบัญญัติใดของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 32
เรื่อง อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เพื่อให้การดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นแล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ยังคงสามารถตรวจสอบการกระทำที่ไม่สุจริตของผู้ได้รับการเลือกตั้งได้ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
ข้อ 2. เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามข้อ 1 แล้ว หากภายหลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ได้รับการเลือกตั้งตามข้อ 1 ผู้ใดกระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตหรือกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เพื่อตนเองได้รับการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือมีการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ได้รับการเลือกตั้งผู้นั้นมีกำหนดเวลา 1 ปี และดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เว้นแต่กระทำนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับการเลือกตั้ง
ข้อ 3. บรรดาบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในประกาศฉบับนี้แทน
ข้อ 4 .ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ดำเนินการก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับด้วย โดยกำหนดเวลา 30 วันตามข้อ 1 ให้นับตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
Subscribe to:
Posts (Atom)